รมว.กษ.เข้าตรวจเยี่ยม พร้อมมอบนโยบายในการปฏิบัติงาน
                        แก่ข้าราชการกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
 
        
         วันนี้ (๒๔ ก.ย.๕๘) พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าตรวจเยี่ยม พร้อมมอบนโยบายในการปฏิบัติงานแก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เพื่อให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีนาย      วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ พร้อมด้วยคณะ 
ผู้บริหารกรมฯ ให้การต้อนรับ
 
          นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กล่าวว่า กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
มีบทบาทสำคัญในการเป็นองค์กรที่พัฒนาระบบการบริหารจัดการด้านการเงินการบัญชีของสหกรณ์และ
สถาบันเกษตรกรของประเทศ ให้มีความเข้มแข็ง โปร่งใส และพึ่งพาตนเองได้ อีกทั้งยังเป็นกลไกสำคัญ
ในการขับเคลื่อนและติดอาวุธทางปัญญาให้แก่เกษตรกร เยาวชนและประชาชนทั่วไป เพื่อให้เกษตรกร
ไทย รู้จักตนเอง รู้รายรับ รายจ่าย รู้ต้นทุนการผลิต กำไรหรือขาดทุนจากการประกอบอาชีพ สามารถ
วิเคราะห์ลดต้นทุนการผลิต การหาแหล่งทุนเพื่อสร้างรายได้ และมีการออมอย่างเป็นระบบ เพื่อให้
เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี ชุมชน สังคม อยู่ได้อย่างมีความสุข รวมไปถึงการมุ่งเน้นในการสร้าง
ความเข้มแข็งและความโปร่งใสในด้านการบริหารจัดการการเงินการบัญชีให้กับสหกรณ์และ
สถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ โดยการเข้าไปตรวจสอบบัญชีและสร้างมาตรฐานให้กับระบบบัญชี
ทำให้ระบบบัญชีมีคุณภาพ และมีความโปร่งใสในเรื่องของระบบการเงินการบัญชี โดยกรมตรวจ
บัญชีสหกรณ์ ได้บูรณาการการทำงานให้กระชับฉับไว ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน มีคุณภาพ
ขับเคลื่อนภายใต้นโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งได้ปรับระบบงานด้านการกำกับ
ดูแลสหกรณ์ให้เหมาะสมกับธุรกิจของสหกรณ์ โดยมีมาตรการพัฒนาระบบสหกรณ์อย่างยั่งยืน
๔ มาตรการ ดังนี้
         ๑.มาตรการแก้ไขปัญหาการทุจริต การกระทำการไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นไปตาม
วัตถุประสงค์ของสหกรณ์ โดยจัดทีมเฉพาะกิจเข้าตรวจสอบและเร่งรัดให้หาผู้รับผิดชอบ กระตุ้นให้
คณะทำงานระดับจังหวัดแก้ไขปัญหา รวมทั้ง ตั้งศูนย์แก้ไขปัญหาสหกรณ์และจัดระบบการจัดการ
แก้ไขข้อบกพร่อง โดยให้สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ และสหกรณ์จังหวัดบูรณาการการทำงานร่วมกัน
          ๒. มาตรการเฝ้าระวัง กำกับดูแลอย่างจริงจัง และติดตามต่อเนื่องในสหกรณ์ที่มีสัญญาณ
บอกเหตุที่อาจมีข้อผิดพลาดบกพร่อง หรือดำเนินธุรกิจที่ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เพื่อแจ้งให้มีการ
แก้ไขให้ถูกต้องอย่างทันท่วงที
          ๓. มาตรการป้องกัน
          ระยะสั้น
          -เพิ่มประสิทธิภาพระบบการตรวจสอบบัญชีสหกรณ์ โดยจัดกลุ่มสหกรณ์เป็นระดับดี/พอใช้/ ต้อง
แก้ไข/เพื่อยกระดับสหกรณ์ให้อยู่ในระดับดีและแก้ไขปัญหาให้เหมาะสมกับแต่ละกลุ่ม
          - พัฒนาความรู้ความสามารถของผู้สอบบัญชี ให้ปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ
          - พัฒนาทีมเฉพาะกิจให้สามารถตรวจสอบเพื่อระงับความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นและแก้ไขปัญหา
อย่างเร่งด่วน
          - ให้ความรู้แก่ฝ่ายบริหาร ฝ่ายจัดการและสมาชิกสหกรณ์ ได้ตระหนักในหน้าที่ความรับผิดชอบ
          - สร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ตรวจสอบกิจการให้สามารถทำหน้าที่ตรวจสอบ สร้างความโปร่งใส
แก่สหกรณ์
          ระยะยาว
          - เสริมสร้างธรรมาภิบาลของสหกรณ์ด้วยระบบบัญชีและการควบคุมภายในที่ดี ตลอดจนเพิ่ม
ประสิทธิภาพการกำกับดูแลด้านการเงินการบัญชีของสหกรณ์
          ๔. มาตรการสนับสนุน บูรณาการร่วมกับกรมส่งเสริมสหกรณ์โดย
           - ส่งเสริมให้สหกรณ์มีสภาพคล่อง เกิดหลักประกันที่มั่นคงแก่การดำเนินงานของสหกรณ์
           - ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อรักษาความมั่นคงของสหกรณ์
           - จัดอันดับความน่าเชื่อถือสหกรณ์ และส่งเสริมให้สหกรณ์เข้าระบบข้อมูลเครดิตแห่งชาติ
ทำให้การบริหารสินเชื่อของสหกรณ์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
           นายวิณะโรจน์ กล่าวอีกว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการนำระบบสหกรณ์มาใช้เป็น
เครื่องมือในการขับเคลื่อนประเทศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะการพัฒนาภาคการ
เกษตร และให้สหกรณ์เป็นศูนย์กลางในการส่งเสริมอาชีพให้กับเกษตรกรที่เป็นสมาชิก ทั้งในเรื่อง
การลดต้นทุนการผลิต การพัฒนากระบวนการผลิตสินค้าการเกษตรให้ได้มาตรฐาน การแปรรูปเพื่อ
เพิ่มมูลค่า และการจัดหาช่องทางการตลาดเข้ามารองรับ ดังนั้น จึงต้องมีการพัฒนาระบบสหกรณ์
เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ความโปร่งใส และหลักธรรมาภิบาลแก่สหกรณ์ โดยกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
ได้ยกระดับการทำงานเชิงคุณภาพงานตรวจสอบบัญชีสหกรณ์ สถาบันเกษตรกร ภายใต้กรอบความ
เป็นเลิศในด้านคุณภาพ เพื่อขับเคลื่อนภารกิจได้อย่างเป็นรูปธรรม ตอบสนองนโยบายของรัฐบาล
และเป้าหมายการให้บริการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังผลให้สหกรณ์และสถาบันเกษตรกร
มีความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ รวมถึงประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พร้อมก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
พร้อมเร่งขับเคลื่อนการพัฒนาระบบบริหารงานสอบบัญชีสหกรณ์ให้มีประสิทธิภาพสู่มาตรฐานสากล
วมทั้งกำกับการสอบบัญชีและจรรยาบรรณของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์การ
เปลี่ยนแปลงของสหกรณ์และเสริมสร้างระบบการเงินการบัญชีของสหกรณ์ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส
มีความเข้มแข็งและยั่งยืนมากยิ่งขึ้น โดยได้พัฒนาโปรแกรมระบบบัญชีสหกรณ์ เพื่อช่วยให้การบริหาร
จัดการข้อมูลทางบัญชีของสหกรณ์รวดเร็วและทันต่อสถานการณ์ ส่งผลให้การตรวจสอบบัญชีเป็นไป
อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเชื่อถือได้ สร้างความเชื่อถือศรัทธาต่อสมาชิก อาทิ การนำระบบกระดาษ
ทำการอิเล็กทรอนิกส์ (EWP) มาช่วยพัฒนาคุณภาพการให้บริการงานสอบบัญชี และใช้เป็นเครื่องมือ
ในการควบคุมคุณภาพงานของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ รวมทั้งลดขั้นตอนและระยะเวลาในการทำงาน
ส่งผลให้กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ได้รับรางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๘ ประเภทการ
พัฒนาการบริการที่เป็นเลิศ ระดับดีเด่น จากสำนักงาน ก.พ.ร. (Enhancing Audit Service Quality
With Electronic Working Papers)
           ภารกิจที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การส่งเสริมการจัดทำบัญชีรายบุคคล โดยสร้างครูบัญชี
และครูบัญชีเยาวชน เป็นกลไกสอนแนะ กระตุ้นการเรียนรู้ด้านการเงินการบัญชีและติดตามผลการทำ
บัญชีของเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง สามารถทำบัญชีได้ใช้บัญชีเป็นและใช้ประโยชน์จากบัญชีในการ
วางแผนการผลิต การจำหน่าย และลดต้นทุนการผลิต อีกทั้งสานต่อโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนใน
ถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยสร้างโรงเรียน
ต้นแบบ ให้นักเรียนรู้จักการทำบัญชีและเป็นกำลังสำคัญในการนำความรู้ด้านบัญชีต้นทุนอาชีพไปใช้
ในครอบครัว
        "การเข้าตรวจเยี่ยมของท่านรัฐมนตรีฯ ในครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสที่ดีที่บุคลากรของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ จะได้รับทราบนโยบายและแนวทางในการปฏิบัติงาน เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการพัฒนาสหกรณ์ไทย ให้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน รวมทั้งเกษตรกรและประชาชน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป” อธิบดีกรมตรวจบัญขีสหกรณ์ กล่าว.