|
|
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กับ 59 ปี แห่งการมุ่งมั่นสร้างความเข้มแข็งด้านการเงินการบัญชีแก่ภาคสหกรณ์ไทย |
ในวันที่ 12 มีนาคม ของทุกปี ถือเป็นวันสำคัญของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์อีกหนึ่งก้าว ในการสรรสร้างประโยชน์ให้แก่ขบวนการสหกรณ์ ซึ่งภารกิจหน้าที่ของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ไม่เพียงแต่ตรวจสอบบัญชีของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่วางระบบบัญชีและให้คำปรึกษาแนะนำการบริหารจัดการด้านการเงินการบัญชีแก่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ตลอดจนพัฒนาระบบบัญชีและการสอบบัญชีให้เป็นไปตามมาตรฐาน และสอดคล้องกับการจัดการธุรกิจของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เพื่อให้สถาบันดังกล่าวมีความมั่นคง เข้มแข็ง เป็นที่เชื่อถือศรัทธาแก่สมาชิกและประชาชนทั่วไป ตลอดจนเป็นฐานรากทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ ตลอดระยะเวลาแห่งการก่อตั้งกรมตรวจบัญชีสหกรณ์จนถึงวันนี้ นับเป็นเวลา 59 ปี แห่งการมุ่งมั่นพัฒนาภาคสหกรณ์ของไทยให้มีระบบการบริหารจัดการด้านการเงินการบัญชีที่โปร่งใส และเข้มแข็ง รวมถึงการพัฒนาเครื่องมือเทคโนโลยีเข้ามาช่วยยกระดับสหกรณ์ในการบริหารงานให้เกิดความเข้มแข็ง โปร่งใส ตรวจสอบได้ตลอดเวลา ดังผลงานล่าสุดกับรางวัลคุณภาพ การให้บริการประชาชนดีเด่น ประจำปี 2553 ถึง 2 รางวัล คือ ประเภทรางวัลนวัตกรรมการ ให้บริการสำหรับกระบวนงานการตรวจสอบบัญชีสหกรณ์ด้วยระบบ FAS และ CAD Plan และรางวัลกระบวนงานการให้คำปรึกษาเพื่อสร้างความมั่นคงเข้มแข็งแก่สหกรณ์ (SEVA 2009) ซึ่งได้รับจากนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อปลายปีที่ผ่านมา รวมไปถึงรางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชนดีเด่น ประจำปี 2551 ประเภทนวัตกรรมการให้บริการสำหรับกระบวนงานการพัฒนาระบบเตือนภัยทางการเงินของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร (Cooperative Financial Surveillance and Warning System : Set Standard : CFSAWS : ss) ซึ่งทั้งหมดเป็นสิ่งยืนยันถึงความมุ่งมั่นด้วยความภาคภูมิใจของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ในโอกาสครบรอบวันสถาปนากรมตรวจบัญชีสหกรณ์ปีที่ 59 นี้ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ได้จัดงานเปิดตัวโครงการ ๙๙๙ โปรแกรมบัญชี ๙๙๙ ความดีเพื่อพ่อหลวง ซึ่งเป็นโครงการ ที่กรมตรวจบัญชีสหกรณ์จัดขึ้น เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 โครงการนี้เป็นโครงการที่ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ร่วมกับสหกรณ์ เพื่อร่วมกันทำความดีถวายพ่อหลวง ด้วยการใช้โปรแกรมระบบบัญชีสหกรณ์ครบวงจรในการจัดทำบัญชีและบริหารจัดการข้อมูล
สำหรับโปรแกรมระบบบัญชีสหกรณ์ครบวงจร เป็นโปรแกรมที่กรมตรวจบัญชีสหกรณ์พัฒนาขึ้นสำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการวางระบบบัญชีให้สหกรณ์ได้ใช้ในการบันทึกรายการ ทางการเงินที่เกิดขึ้นประจำวัน รวมทั้งการบันทึกรายการบัญชีและการจัดทำงบการเงินของสหกรณ์ อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้สหกรณ์สามารถให้บริการสมาชิกได้อย่างรวดเร็วและ ถูกต้องในทุก ๆ ด้าน ตั้งแต่ การรับสมัครสมาชิก การให้กู้ยืมเงิน การรับฝากเงิน และการขายสินค้า |
นายสิงห์ทอง ชินวรรังสี อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กล่าวว่า จุดเด่นของโปรแกรมระบบบัญชีสหกรณ์ครบวงจร นอกจากจะสามารถรองรับทุกธุรกิจหลักของสหกรณ์แล้ว ยังสามารถจัดการงานบันทึกข้อมูลได้อย่างครบวงจร ตั้งแต่การจัดทำเอกสารหลักฐานประกอบรายการ ตัวอย่างเช่น การออก ใบเสร็จรับเงิน การบันทึกรายการขั้นต้น การบันทึกรายการ ขั้นปลายในสมุดบัญชีแยกประเภท การจัดทำบัญชีย่อยและทะเบียน สุดท้ายยังช่วยให้สหกรณ์สามารถจัดทำงบการเงิน ตามรูปแบบที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนดได้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นงบดุล งบกำไรขาดทุน งบกำไรขาดทุนเฉพาะธุรกิจ งบกระแสเงินสด และหมายเหตุประกอบงบการเงิน นอกจากนี้ ยังสามารถออกรายงานผลการวิเคราะห์งบการเงิน และรายงานเตือนภัยได้อัตโนมัติอีกด้วย |
|
ระบบบัญชี ถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะนำพาสหกรณ์ไปสู่ความเจริญ ดังนั้นโปรแกรมระบบบัญชีสหกรณ์ครบวงจรที่กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ได้เพียรพยายามพัฒนามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมานั้น กล่าวได้เต็มภาคภูมิว่า สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาการจัดทำบัญชี และพัฒนาระบบงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ จนประสบความสำเร็จ สามารถลดขั้นตอนและ ระยะเวลาการจัดทำใบเรียกเก็บเงินประจำงวดจากที่เคยใช้เวลามากกว่า 2 สัปดาห์ มาเหลือเพียงวันเดียว เราสามารถแก้ปัญหาเรื่องการจัดทำรายละเอียดไม่ตรงกับบัญชีคุมให้สามารถตรวจสอบความถูกต้องตรงกันได้ทุกวัน และที่สำคัญเราสามารถช่วยสหกรณ์ออมทรัพย์ให้สามารถปิดบัญชีได้ในวันสิ้นปี และสามารถจัดทำงบการการเงินได้ตามแบบที่นายทะเบียนสหกรณ์ได้ทันที รวมทั้งคำนวณเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนได้อย่างรวดเร็ว นับเป็น 59 ปีแห่งความสำเร็จของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ในการมุ่งมั่นสร้างความเข้มแข็งด้านการเงินการบัญชีแก่ภาคสหกรณ์ไทย และในย่างก้าวต่อไป กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ก็จะยังคงมุ่งมั่นพัฒนาระบบบัญชี โดยเร่งพัฒนาคุณภาพของโปรแกรมระบบบัญชีสหกรณ์ ครบวงจรให้เกิดประโยชน์แก่สหกรณ์มากที่สุด ทั้งด้านมาตรฐาน IT และมาตรฐานการบัญชี คู่ขนานกับหลักความพอเพียงเป็นสำคัญ ประการสำคัญในการขับเคลื่อนงาน จำเป็นต้องอาศัย
ความร่วมมือจากหลายภาคส่วน พร้อมใจกันสรรสร้างสิ่งดีดีให้กับภาคสหกรณ์ไทย เพื่อความ เข้มแข็งแก่ภาคสหกรณ์ของไทยในอนาคตอย่างยั่งยืน |
|
|
|
|