กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือ
            พัฒนาศักยภาพครูบัญชี หวังเป็นวิทยากรภูมิปัญญา
                ถ่ายทอดความรู้สู่เยาวชนและเกษตรกรรุ่นใหม่

         เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2555 นายจักรี สุจริตธรรม อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ลงนาม
บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อยกระดับการศึกษา และการพัฒนาศักยภาพขีดความสามารถ
ของ "ครูหมอดิน ครูบัญชี ครูยาง” ร่วมกับ นายธวัชชัย สำโรงวัฒนา อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน ายวิทย์
ประทักษ์ใจ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางและนายประเสริฐ บุญเรือง
เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบ
รัฐบาล โดยมี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย นายณัฐวุฒิ
ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายศักดา คงเพชร รัฐมนตรีช่วย
ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นสักขีพยานซึ่งการลงนามดังกล่าว เป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวง
เกษตรและสหกรณ์ โดยกรมพัฒนาที่ดิน กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ และสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำ
สวนยาง กับกระทรวงศึกษาธิการโดยสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ในการบูรณาการความร่วมมือในการส่งเสริมให้อาสาสมัครของหน่วยงานในกระทรวงเกษตรฯ ได้รับการ
พัฒนาศักยภาพในการถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตรสู่เยาวชน โดยหวังให้เป็นวิทยากรภูมิปัญญาสอน
เยาวชนทั้งในและนอกระบบโรงเรียน
          นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การพัฒนาศักยภาพให้กับ
เกษตรกร ถือเป็น
หน้าที่รัฐบาล ทำให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ดีขึ้น และยกระดับภาคการเกษตรให้มีการพัฒนาให้มากที่สุด
เพื่อเตรียมพร้อมสู่การเปิดประตูสู่ประชาคมอาเซียน และขอชื่นชมครูหมอดิน ครูบัญชี และครูยาง ที่มีจิต
อาสา มีจิตวิญญาณความเป็นครู เชื่อว่าโครงการนี้ จะช่วยพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับเกษตรกร
ไทยได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ยังได้กล่าวยกตัวอย่างถึง "น้าน้อย”ครูบัญชีที่จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งจบ
เพียงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แต่ประสบความสำเร็จจากการนำบัญชีไปใช้ในการบริหารจัดการ โดยได้สอน
การทำบัญชีครัวเรือนในหมู่บ้านได้กว่า 10 ปี
         "อยากชี้ให้เห็นว่าการศึกษาไม่มีข้อจำกัด ไม่มีวุฒิความรู้ ไม่มีอายุ ไม่มีขีดกั้นพรมแดน
สิ่งเหล่านี้
เป็นแรงบันดาลใจที่จะต่อยอดในการขยายผลเทียบวุฒิที่มีอยู่ ถือเป็นภูมิปัญญาทางการปฏิบัติที่หายาก
ให้เทียบกับวุฒิการศึกษา” นายกรัฐมนตรี กล่าว
          ในขณะที่ นายจักรี สุจริตธรรม อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กล่าวว่า นับตั้งแต่ปี 2544
เป็นต้นมา กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ได้รับมอบหมายสร้างแกนนำเกษตรกรให้เป็นครูบัญชีเกษตรอาสา
หรือในปัจจุบันเรียกว่า อาสาสมัครเกษตรด้านบัญชี (ครูบัญชี) กระจายตัวอยู่ในชุมชนต่างๆ เพื่อทำ
หน้าที่เป็นวิทยากรสอนแนะความรู้ด้านบัญชี และการทำบัญชีรับ-จ่าย ในครัวเรือน และบัญชีต้นทุนอาชีพ
เพื่อให้รู้จักใช้จ่ายเงิน และเป็นการสร้างวินัยทางการเงินที่ดี ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาตนเอง พัฒนาอาชีพ
ของผู้ที่ได้จัดทำบัญชี ครูบัญชี จึงถือว่าเป็นสื่อกลางที่เข้าถึงชุมชนได้อย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ กรมตรวจบัญชี
สหกรณ์ ได้มีการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ครูบัญชีระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน เพื่อทำหน้าที่
ถ่ายทอดความรู้ทางบัญชี พร้อมทั้งจัดกิจกรรมให้กับครูบัญชีอาสา ทั้งการอบรมและสัมมนา เพื่อพัฒนา
ทักษะและศักยภาพของครูบัญชีอาสาให้มีความรู้ในการจัดทำบัญชีรับ-จ่ายในครัวเรือน และบัญชีต้นทุน
อาชีพให้มีประสิทธิภาพ และสามารถนำไปสอนแนะการทำบัญชีแก่เกษตรกร อาทิ โครงการพัฒนา
ภูมิปัญญาทางบัญชีสู่บัญชีต้นทุนอาชีพ ระยะเวลาดำเนินการ 6 ปี (ปี 2554-2559) โดยในปี 2555 นี้
กำหนดเป้าหมายไว้ 300,000 คน ทั่วประเทศ โดยหวังให้เกษตรกรใช้"บัญชีบอกความสำเร็จ” ให้เป็น
รูปธรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
          นายจักรี กล่าวต่ออีกว่า ในปัจจุบัน มีครูบัญชีทั่วประเทศ กว่า 6 หมื่นคน แต่ยังมีจำนวนมากที่ยัง
มีคุณวุฒิไม่ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ดังนั้น จากบันทึกความร่วมมือดังกล่าว จะเป็นแรงขับเคลื่อนที่ดี
ในการต่อยอดความรู้ให้กับครูบัญชี ได้พัฒนาศักยภาพและเกิดความภาคภูมิใจในการปฏิบัติงานให้มี
ประสิทธิภาพ และยังเป็นโอกาสที่ดีที่ครูบัญชีจะได้เข้ารับการศึกษาขั้นพื้นฐานหลักสูตรการศึกษานอกระบบ
 ตามนโยบายของรัฐในการยกระดับการศึกษาประชาชนให้สูงขึ้น รวมถึงการยกระดับทักษะอาชีพ การ
สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับประชาชน ซึ่งครูบัญชีจะได้รับการพัฒนาให้มีความเชี่ยวชาญ ในฐานะ ครูหรือ
วิทยากรภูมิปัญญา นำความรู้ไปสอนแนะให้นักเรียน นักศึกษาในสถานศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
ด้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งบัญชีรับ-จ่ายในครัวเรือนและบัญชีต้นทุนอาชีพ เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนและ
กษตรกรรุ่นใหม่ ได้รู้จักการทำบัญชี สามารถคิดคำนวณ รู้รายรับ-รายจ่าย และดำเนินชีวิตตามแนวทาง
เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้เด็กเติบโตอย่างมีคุณภาพ เสริมสร้างความเข้มแข็งและ
ความมั่นคงในภาคเกษตร ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนไทยได้อย่างยั่งยืน
          "คนไทยรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง การที่จะรู้ว่าพอเพียงหรือไม่ ก็ต้องใช้ บัญชี เพราะบัญชีจะวัดว่า
ตรงไหนคือรายรับ ตรงไหนคือรายจ่าย คนที่ทำอยู่เป็นอาจิณ พวกเหล่านี้พอเพียง ไม่เป็นหนี้ พอไม่เป็นหนี้
ก็จะมีอานิสงส์ว่าจะสอนคนอื่นต่อให้ได้ดีอย่างตนเอง คนที่เป็นครูบัญชีจึงเริ่มต้นที่ตนเองจนได้ดีประสบ
ความสำเร็จ แล้วในที่สุดก็อุทิศตัวเพื่อให้คนอื่นได้ทำตาม นั่นคือ คุณสมบัติของครู ทุกคนสามารถเป็นครู
บัญชี ได้ทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร ข้าราชการ ครู อาจารย์ ผู้ที่สนใจอยากทำบัญชี สามารถติดต่อได้
ที่สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ทุกจังหวัดในประเทศไทย ซึ่งพร้อมให้บริการ” นายจักรี กล่าว