กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ สถาปนาครบรอบ 73 ปี
  เดินหน้ายกระดับมาตรฐานข้อมูล สู่การเป็นศูนย์กลาง
  ทางการเงินของสหกรณ์ไทย
 
      กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ จัดการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง
ยกระดับมาตรฐานข้อมูลสู่การเป็นศูนย์กลางทางการเงินของสหกรณ์ไทย
เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ครบรอบ 73 ปี
โดยได้รับเกียรติจาก นางสาวอนงค์นาถ จ่าแก้ว เลขานุการรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมมอบประกาศ
เกียรติคุณและโล่รางวัลข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปีพ.ศ. 2567 และ
รางวัลชนะการประกวดการออกแบบตราสัญลักษณ์กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
ครบรอบ 73 ปี ในวันที่ 11 มีนาคม 2568 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ มหานาค
กรุงเทพฯ
 
       นางสาวอนงค์นาถ จ่าแก้ว เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร
และสหกรณ์ กล่าวว่า ตามนโยบายของท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์ (ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์) ครั้งเมื่อได้เข้าตรวจเยี่ยมและมอบนโยบาย
การขับเคลื่อนภารกิจของกับกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2567 นั้น
โดยท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์)
ได้มอบนโยบายที่มุ่งเน้นการขับเคลื่อนในการนำนวัตกรรมที่ทันสมัย มาใช้เสริมสร้าง
ความเข้มแข็งในการบริหารจัดการภาคสหกรณ์ พัฒนาองค์ความรู้และศักยภาพของ
บุคลากรในการบริหารจัดการทางการเงินอย่างครอบคลุมรอบด้าน รู้เท่าทัน เพื่อให้
การดำเนินงานของสหกรณ์ มีความมั่นคง โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ อีกทั้งยัง
ลด
ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับสหกรณ์และสมาชิก ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่าง
เป็นรูปธรรม ในปัจจุบันมีสหกรณ์ที่จดทะเบียน รวม 9,530 แห่ง มีจำนวนสมาชิก
11,339,612 ล้านคน มีทุนดำเนินงานกว่า 3.5 ล้านล้านบาท มูลค่าธุรกิจรวม
2,139,486.96 ล้านบาท โดยมีแนวโน้มที่จะเติบโตเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องได้รับ
การพัฒนาองค์ความรู้และศักยภาพการบริหารจัดการทางการเงินให้เท่าทัน
เทคโนโลยีที่หลากหลาย และธุรกิจของสหกรณ์ที่มีความก้าวหน้า กรมตรวจบัญชี
สหกรณ์ จึงเป็นหน่วยงานสำคัญในการผลักดันให้มีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม
ด้านการบัญชีสหกรณ์ พัฒนาความสามารถการใช้ข้อมูลสำหรับการวางแผนอย่างมี
ประสิทธิภาพ และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ
ซึ่งนอกจากการผลักดันการใช้นวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการใน
สหกรณ์และภาคการเกษตรแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์) ยังได้มอบนโยบายให้กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
ดำเนินการร่วมกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ ร่วมขับเคลื่อนการยกระดับการกำกับดูแล
สหกรณ์ ด้วยระบบ Co – operative Core System : CCS เพื่อให้สหกรณ์มีระบบ
มาตรฐานธุรกรรมทางการเงิน เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ และการบริหาร
สภาพคล่อง สามารถวิเคราะห์ตรวจจับการทุจริตหรือธุรกรรมผิดปกติได้อย่างรวดเร็ว
ลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในภาคสหกรณ์และกับสมาชิก ยกระดับความโปร่งใส
และสร้างความเชื่อมั่นในระบบสหกรณ์ ควบคู่กับการเสริมสร้างองค์ความรู้และความ
สามารถการจัดทำบัญชีแก่เกษตรกร เยาวชน และประชาชน เพื่อใช้วางแผนการ
ประกอบอาชีพ การลงทุนและการผลิต พัฒนาอาชีพเกษตรกรรมให้มีความยั่งยืน
มีวินัยในการใช้จ่ายเงินและมีเงินเก็บออม เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากรม
ตรวจบัญชีสหกรณ์ ครบรอบ 73 ปี ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์) และดิฉัน ขอแสดงความยินดีกับผู้ปฏิบัติงานทุกภาคส่วน
ที่มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์มาอย่างยาวนาน
โดยมุ่งหวังว่า กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ จะเป็นหน่วยงานสำคัญที่จะสนับสนุนภารกิจของ
รัฐบาล และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการยกระดับภาคการเกษตรให้เป็นภาค
เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ สร้างสรรค์เครื่องมือ และสร้างโอกาสให้พี่น้องเกษตรกร
รวมไปถึงสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรด้านการเกษตรและบุคลากรด้านการเกษตร
ให้ก้าวเดินอย่างมั่นคง สู่ความสำเร็จที่ยั่งยืนต่อไป
      นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กล่าวว่า เนื่องใน
โอกาสครบรอบ 73 ปี แห่งการสถาปนากรมตรวจบัญชีสหกรณ์ จึงได้จัดการประชุม
สัมมนาเชิงปฏิบัติการ ภายใต้ชื่องาน "ยกระดับมาตรฐานข้อมูลสู่การเป็นศูนย์กลางทาง
การเงินของสหกรณ์ไทย” ในระหว่างวันที่ 10 - 12 มีนาคม 2568 โดยกรมตรวจบัญชี
สหกรณ์ ได้ขานรับนโยบายจากท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์) มุ่งหวังสร้างพลังการขับเคลื่อนความเข้มแข็งในการ
ดำเนินงานของสหกรณ์ยุคดิจิทัล ที่เกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
ให้เห็นเป็นรูปธรรม ขับเคลื่อนการยกระดับการกำกับดูแลสหกรณ์ ด้วยระบบ Co –
operative Core System : CCS ตลอดจนร่วมแสดงความยินดีในพิธีมอบประกาศ
เกียรติคุณและโล่รางวัลข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2567 ของกรมตรวจ
บัญชีสหกรณ์ เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงานที่ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง
ที่ดี รวมถึงมีผลงานดีเด่นเป็นประจักษ์ โดยตลอดระยะเวลา 73 ปี กรมตรวจบัญชี
สหกรณ์ ได้ขับเคลื่อนงานยกระดับมาตรฐานและสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหาร
จัดการทางการเงินแก่สถาบันเกษตรกรมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สมาชิกสหกรณ์
เกษตรกร มีคุณภาพชีวิตที่ดีมีความมั่นคงและยั่งยืน โดยในปีงบประมาณ 2568
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ได้กำหนดเป้าหมายในการยกระดับความเข้มแข็ง โปร่งใส
ในภาคสหกรณ์และเกษตรกรไทยด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม มุ่งเน้นการพัฒนา
ในด้านต่าง ๆ อาทิเช่น
        - การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม สร้างเสถียรภาพและประสิทธิภาพ
ในการบริการจัดการภาคสหกรณ์ ยกระดับมาตรฐานข้อมูลสู่การเป็นศูนย์กลางทาง
การเงินของสหกรณ์ไทย พร้อมทั้งผลักดันให้สหกรณ์นำเทคโนโลยีและเครื่องมือ
ด้านบัญชีมาใช้สนับสนุนการดำเนินงานในสหกรณ์และให้บริการสมาชิก ทั้งนี้ กรม
ตรวจบัญชีสหกรณ์ได้ร่วมกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ เตรียมผลักดันการยกระดับการ
กำกับสหกรณ์ โดยขับเคลื่อนการยกระดับการบริหารและการกำกับดูแล
สหกรณ์ ด้วยระบบ Co – operative Core System : CCS นำมาใช้ในภาค
สหกรณ์ เพื่อให้สหกรณ์มีระบบมาตรฐานธุรกรรมทางการเงินที่ตรวจสอบข้อมูล
แบบ Real-time มีระบบสนับสนุนการจัดการและการตัดสินใจ เพิ่มประสิทธิภาพ
ในการดำเนินธุรกิจและการบริหารสภาพคล่อง ยกระดับความโปร่งใส ตรวจจับ
การทุจริตได้ทันท่วงที สร้างความเชื่อมั่นให้สมาชิกผู้ใช้บริการ โดยเริ่มดำเนินการ
และนำร่องในสหกรณ์เป้าหมาย ภายในปี 2568
      - การรักษามาตรฐานวิชาชีพ และกำกับ ดูแล ป้องกันปัญหาการทุจริต
อย่างเป็นรูปธรรม โดยทบทวนและปรับปรุงกฎระเบียบต่าง ๆ ให้สอดคล้องตาม
มาตรฐานสากลและสถานการณ์ปัจจุบัน เฝ้าระวัง กำกับ ติดตาม การบริหารจัดการ
ของสหกรณ์และระบบการควบคุมภายในที่ดี โดยขับเคลื่อนความร่วมมือสำนักงาน
ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และกรมส่งเสริมสหกรณ์ ลงนาม MOU
เพื่อป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินผ่านกิจการสหกรณ์ ยกระดับความร่วมมือ
เพื่อป้องกันป้องปรามการทุจริตและสร้างความโปร่งใส ตรวจสอบได้ในระบบสหกรณ์
       - การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านบัญชีสู่เกษตรกร กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
ได้ดำเนินงานพัฒนาความรู้ด้านการจัดทำบัญชี มุ่งเน้นขยายผลการดำเนินการแก้ไข
ปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือนของเกษตรกรและประชาชน ตั้งเป้าหมายพัฒนาเกษตรกร
สู่การเป็นผู้ประกอบธุรกิจเกษตรอัจฉริยะ ซึ่งสามารถใช้ข้อมูลทางบัญชีและเทคโนโลยี
พัฒนาอาชีพของตนเองได้ สามารถวิเคราะห์จุดคุ้มทุนเพื่อการประกอบธุรกิจทางการ
เกษตร Break Even Point (BEP) อีกทั้งได้พัฒนาแอปพลิเคชัน SmartMe เพื่อเป็น
เครื่องมือช่วยในการจดบันทึกบัญชี ผ่านสมาร์ทโฟน สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย
เกษตรกรสมัยใหม่ เยาวชนคนรุ่นใหม่ และสมาชิกสหกรณ์ทั่วไป พร้อมทั้งสร้าง
เครือข่ายครูบัญชีอาสา ถ่ายทอดการคิดวิเคราะห์ การลงทุนทำการเกษตร
การจำหน่ายผลิตผล ผ่านการจัดทำบัญชีต้นทุนประกอบอาชีพ ซึ่งปัจจุบันมีครูบัญชี
อาสาทั่วประเทศ จำนวน 6,188 ราย ให้เป็นเครือข่ายที่เข้มแข็ง เป็นโค้ชทางการเงิน
ให้กับเกษตรกรทั่วประเทศ พร้อมเพิ่มศักยภาพชุมชนแห่งการออม ซึ่งในปีที่ผ่านมา
มีชุมชนเข้าร่วม จำนวน 78 ชุมชน สร้างเงินออมทั่วประเทศ รวมกว่า 21 ล้านบาท
นับเป็นจุดเริ่มต้น ที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดียิ่งขึ้น อยู่ดี กินดี มีความสุข
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ จะมุ้งเน้น และขยายผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สิน
ภาคครัวเรือน ของเกษตรกร และประชาชนทั่วประเทศ โดยถือว่าเป็นภารกิจหลัก
ของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ที่จะต้องแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือน ของภาคการ
เกษตร และประชาชนทั่วประเทศ ให้ได้อย่างยั่งยืน