กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ จัดการประชุมสัมมนาวิชาการกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
ประจำปี 2566 เรื่อง "กตส.ยกระดับ ขับเคลื่อน องค์กรสู่อนาคต CAD : Shift &
Change for the Future มุ่งยกระดับคุณภาพงานสอบบัญชี และการควบคุมภายใน
สร้างความเข้มแข็งและความโปร่งใสแก่สหกรณ์และ กลุ่มเกษตรกรอย่างยั่งยืน
เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงสู่การเป็นหน่วยงาน ภาครัฐยุคดิจิทัล
นางสาวอัญมณี ถิรสุทธิ์ อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กล่าวว่า ปัจจุบันสหกรณ์มีการดำเนินธุรกิจ
ที่หลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น ตลอดจนมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการ อาจนำมา
สู่ปัจจัยเสี่ยงในการดำเนินงาน กรมตรวจบัญชีสหกรณ์จึงมุ่งมั่นยกระดับ ขับเคลื่อนพัฒนาความเข้มแข็ง
ด้านการเงินการบัญชีแก่สหกรณ์ ภายใต้วิสัยทัศน์ "ตรวจสอบบัญชีและส่งเสริมการทำบัญชี เพื่อสร้าง
ความเข้มแข็ง โปร่งใสแก่สหกรณ์และเกษตรกร สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล และกระทรวงเกษตร
และสหกรณ์ ผ่านการตรวจสอบบัญชีตามมาตรฐานวิชาชีพ พัฒนาระบบการบริหารจัดการด้านการเงิน
การบัญชีและเสริมสร้างการควบคุมภายในที่ดี นำมาซึ่งการสร้างความเข้มแข็งทางการเงินการบัญชีแก่
สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร อันส่งผลให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร มีระบบการเงินการบัญชีและการควบคุม
ภายในที่ดี สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างโปร่งใส สร้างความเชื่อมั่นให้สมาชิก สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
ได้รับการตรวจสอบบัญชีตามมาตรฐานสากล เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้ ช่วยยกระดับศักยภาพสถาบันเกษตรกร
ในส่วนของการตรวจสอบบัญชี ได้ให้นโยบายให้ผู้สอบบัญชีสหกรณ์มุ่งตรวจสอบบัญชีให้เป็นไปตาม
มาตรฐานวิชาชีพ พร้อมทั้งนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการตรวจสอบเพื่อให้เกิดความรวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์
รวมทั้งมุ่งปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานการควบคุมคุณภาพงานสอบบัญชี (TSQC1) และให้ความสำคัญ
กับการกำกับดูแลและตรวจสอบคุณภาพการสอบบัญชีสหกรณ์อย่างเข้มข้น นอกจากนี้กรมฯ ยังได้เตรียม
ความพร้อมยกระดับการควบคุมคุณภาพงานสอบบัญชี (TSQC1) พัฒนาสู่มาตรฐานการบริหารคุณภาพงานสอบ
บัญชี (TSQM) เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล กฎหมายที่เกี่ยวข้องและข้อกำหนด ด้านจรรยาบรรณ
รวมถึงเน้นย้ำการรายงานข้อสังเกตจากการตรวจสอบรวมถึงจุดอ่อนจากการควบคุมภายในให้ทันต่อสถานการณ์
และให้คำปรึกษาแนะนำแก่สหกรณ์เพื่อให้สามารถดำเนินการแก้ไขตามข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ รวมไปถึง
ส่งเสริมให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร สามารถใช้ข้อมูลทางการเงินการบัญชีในการวางแผนบริหารจัดการ โดยใช้
เทคโนโลยีอย่างรู้เท่าทันและเกิดประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นและสร้างความโปร่งใส พร้อมรับการ
เปลี่ยนแปลงของการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ในยุคปัจจุบัน
นอกจากนี้ กรมฯ มีความพร้อมในการยกระดับขับเคลื่อนองค์กรสู่อนาคต มุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็ง
แก่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ภายใต้โครงการ "THINK & DO TOGETHER บูรณาการความร่วมมือ ร่วมคิด
ร่วมกำหนดแนวทาง นำข้อสังเกตมาแก้ไข โดยบูรณาการความร่วมมือ 5 ฝ่าย ได้แก่ คณะกรรมการดำเนินการ
สหกรณ์ ฝ่ายจัดการสหกรณ์ ผู้ตรวจสอบกิจการสหกรณ์ ผู้สอบบัญชีสหกรณ์ (กรมตรวจบัญชีสหกรณ์) และ
ผู้ตรวจการสหกรณ์ (กรมส่งเสริมสหกรณ์) ซึ่งเริ่มนำร่องดำเนินโครงการแล้วในปี 2566 นอกจากนี้ กรมฯ มีแผน
จะต่อยอดการดำเนินโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่องทุกจังหวัดทั่วประเทศในปี 2567 เพื่อยกระดับ ความสามารถ
ในการบริหารจัดการด้านการเงินการบัญชี และการควบคุมภายในแก่สหกรณ์ รวมทั้งเพื่อบูรณาการ และสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างสหกรณ์ ภาคเอกชน และหน่วยงานภาครัฐ ตลอดจนผลักดันให้สมาชิกสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกร ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบข้อมูลการทำธุรกรรมกับสหกรณ์ โดยใช้แอปพลิเคชัน Smart Member สำหรับสมาชิกในการตรวจสอบข้อมูลของตนเองได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นการ สร้างความศรัทธาและสร้างความเชื่อมั่นให้กับสมาชิกสหกรณ์ รวมทั้งสร้างความร่วมมือเพื่อพัฒนาสหกรณ์ สู่ความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนร่วมกัน
สร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรมในการให้บริการสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง โดยส่งเสริม
ให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร สามารถใช้ข้อมูลทางการเงินในการวางแผนบริหารจัดการ โดยให้ความช่วยเหลือ
สอนแนะการจัดทำบัญชีแก่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร พัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการและบุคลากรในสหกรณ์
ให้มีความรู้และสามารถนำข้อมูลทางบัญชีมาใช้ในการบริหารจัดการ เน้นการส่งเสริมและสนับสนุนให้สหกรณ์
มีการใช้เทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรและทันต่อสถานการณ์ที่มี
การเปลี่ยนแปลง อาทิ การใช้งานโปรแกรมเครื่องมือเฝ้าระวังและเตือนภัยทางการเงินของสหกรณ์และ
กลุ่มเกษตรกร CFSAWS:ss โปรแกรมระบบบัญชีสหกรณ์ครบวงจร (FAS) และนวัตกรรม Smart4M ที่พัฒนาโดย
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ มาเป็นเครื่องมือช่วยบริหารจัดการงานสหกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ในปี 2567 กรมฯ มีแผนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการวิเคราะห์และเตือนภัยทางการเงินเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้สอบบัญชี รวมไปถึงสหกรณ์และหน่วยงานกำกับดูแลได้ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประกอบการวางแผนงานในอนาคตได้
ผลักดันสมาชิกสหกรณ์ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบข้อมูลการทำธุรกรรมของตนเองกับสหกรณ์ เร่งผลักดันให้สหกรณ์พัฒนาระบบที่สมาชิกสามารถตรวจสอบข้อมูลของตนเองได้ เพื่อเป็นช่องทางให้สมาชิกตรวจสอบการทำธุรกรรมของสมาชิกกับสหกรณ์ได้แบบทันทีและตลอดเวลา (Real Time) มีการปรับปรุงฐานข้อมูลของสมาชิกให้เป็นปัจจุบัน มีการจัดให้มีการยืนยันยอดการทำธุรกรรมกับสมาชิก รวมทั้งผลักดันสมาชิกให้ความสำคัญ และมีส่วนร่วมในการตรวจสอบข้อมูลของตนเอง ซึ่งในส่วนนี้กรมฯ ได้ส่งเสริมให้สมาชิกสหกรณ์ ใช้แอปพลิเคชัน Smart Member ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในนวัตกรรม Smart4m ที่กรมฯ ได้พัฒนาขึ้น เพื่อให้สมาชิกสหกรณ์สามารถตรวจสอบยอดการทำธุรกรรมของตนเองได้ตลอดเวลา สหกรณ์สามารถนำข้อมูลไปวางแผนบริหารจัดการและสร้างระบบควบคุมภายในที่ดี ลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายต่อสหกรณ์ได้
ทั้งนี้ การประชุมสัมมนาวิชาการ ประจำปี 2566 ในหัวข้อ "กตส.ยกระดับขับเคลื่อนองค์กรสู่อนาคต CAD :
Shift & Change for the Future จัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 - 30 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรมเฮอริเทจ เชียงราย แอนด์ คอนเวนชั่น อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย เพื่อเปิดโอกาสให้บุคลากรและผู้บริหารกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ รับทราบทิศทางการดำเนินงานของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ในอนาคต เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงสู่การเป็นหน่วยงานภาครัฐยุคดิจิทัล และเป็นเวทีเผยแพร่ผลงานวิชาการ นวัตกรรมทางวิชาการ การอภิปรายและการประชุมกลุ่มย่อยจากกรณีศึกษาของการสอบบัญชี รวมถึงการจัดแสดงนิทรรศการ และการบรรยายความรู้ในประเด็นที่น่าสนใจ อาทิ แนวคิด TRIPLE C ยกระดับ ขับเคลื่อน งานกตส.สู่ความเข้มแข็ง อย่างยั่งยืนของสหกรณ์ ความท้าทายของผู้สอบบัญชีในยุคดิจิทัล และการเสวนา หัวข้อ ปักหมุด 5 Cluster ธุรกิจสหกรณ์ เป็นต้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดเห็น ประสบการณ์ ได้รับความรู้ความเข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์
"กรมฯ ได้สนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้ของบุคลากรให้มีความรู้เท่าทัน ทั้งความรู้ด้านการปฏิบัติงาน
ในวิชาชีพและความรู้ด้านการบริหารและการให้บริการในองค์กรดิจิทัลภาครัฐ ในด้านการตรวจสอบบัญชี
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเงินการบัญชีแก่สหกรณ์และสถาบันเกษตรกร และการส่งเสริมองค์ความรู้ด้านบัญชี
แก่เกษตรกรและประชาชน เพื่อใช้วางแผนการประกอบอาชีพและในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยสำคัญให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร สามารถใช้ข้อมูลทางการเงินในการวางแผนบริหารจัดการ
มีระบบ การควบคุมภายในที่ดี และมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน เพื่อนำมาสู่การพัฒนา
สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้ความเข้มแข็งอย่างมั่นคงและยั่งยืน อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กล่าว