กตส.ขานรับนโยบาย ‘รมว.เฉลิมชัย’ เดินหน้าพัฒนาความเข้มแข็ง
เสริมแกร่งด้านการเงิน - บัญชีแก่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
 
        นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการประชุม "การขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร สู่ความเข้มแข็ง”
พร้อมมอบนโยบายการปฏิบัติราชการ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ตามนโยบาย
ของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แก่ผู้บริหาร
และข้าราชการกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ และกรมส่งเสริมสหกรณ์ ร่วมบูรณาการ
ขับเคลื่อนการปฏิบัติงานในการส่งเสริม พัฒนา และแก้ไขปัญหาของสหกรณ์และ
กลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง เป็นที่พึ่งของสมาชิกในการดำรงชีพในชุมชนได้
อย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยมีผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมตรวจบัญชี
สหกรณ์และกรมส่งเสริมสหกรณ์ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุม ชั้น ๓ อาคาร
ฝึกอบรมส่วนกลาง สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ ถนนพิชัย
เขตดุสิต กรุงเทพฯ ร่วมด้วยข้าราชการในสังกัด เข้าร่วมประชุมผ่านระบบ Zoom
Meeting ในวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๕
       นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดนโยบายและแนวทางการขับเคลื่อนภาค
การเกษตรและสหกรณ์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรและยกระดับความเป็นอยู่ของ
ประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตลอดจนพัฒนาระบบเศรษฐกิจ สังคม และชุมชนให้มี
ความมั่นคงและยั่งยืน ตาม ๕ ยุทธศาสตร์ และ ๑๕ นโยบายหลักของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ และกรมส่งเสริม
สหกรณ์ เป็นหน่วยงานหลักภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มีภารกิจหน้าที่ในการ
ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา และกำกับดูแลสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง
ตามหลักธรรมาภิบาล รวมถึงเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนนโยบายและแนวทางการ
พัฒนาของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ
ครอบคลุมสหกรณ์ทุกประเภทและกลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศ รมว.กษ.จึงได้มอบนโยบาย
ให้ทั้ง ๒ หน่วยงาน บูรณาการการทำงานร่วมกันในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลด้าน
การเกษตรและขับเคลื่อนงานสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามแผนแม่บท
ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการเกษตร มีเป้าหมายในการพัฒนาให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิต
ที่ดี มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยมุ่งเน้นให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือ
ซึ่งกันและกัน ในรูปแบบของการสหกรณ์ สร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรของชุมชน
โดยส่งเสริมให้นำแนวทางการตลาดนำการผลิต การส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่
และการนำเทคโนโลยีการเกษตรมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อลดต้นทุน ลดค่า
ใช้จ่าย สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งสร้างระบบการเงินการบัญชีที่มี
เกณฑ์การตรวจสอบบัญชีตามมาตรฐานสากล เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้ให้แก่สหกรณ์
และกลุ่มเกษตรกรนำไปใช้ปฏิบัติ มีการกำหนดเกณฑ์การควบคุมภายในที่ดี การควบคุม
และดูแลการดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้สมาชิกสหกรณ์และ
กลุ่มเกษตรกร
       ที่ปรึกษารมว.กษ. กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับแนวนโยบายในการพัฒนาสหกรณ์แล
ะกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน มีดังนี้
       ๑. นโยบายด้านการส่งเสริม พัฒนา และการกำกับสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
โดยมุ่งเน้นการผลักดันให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจกับสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
มากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินธุรกิจสหกรณ์ ตามหลักการและอุดมการณ์ของ
สหกรณ์ในการช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การเพิ่มประสิทธิภาพในการ
ดำเนินธุรกิจของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในการดำเนิน
ธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจสินเชื่อ ธุรกิจรับฝากเงิน ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย ธุรกิจ
วบรวมผลผลิต ธุรกิจการแปรรูปและธุรกิจบริการ จะช่วยให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมี
ความเข้มแข็ง ส่งผลให้เกษตรกรสมาชิกมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีรายได้เพิ่มขึ้น แก้ไขปัญหา
การประกอบอาชีพในชุมชนได้อย่างยั่งยืน การบริหารองค์กรด้วยหลักธรรมาภิบาล โดย
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ต้องร่วมมือกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ ในการกำกับดูแล แนะนำและ
การสร้างระบบบัญชีที่มีมาตรฐานลงพื้นที่เข้าตรวจการสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรทุกแห่ง
เข้าแนะนำ ตรวจสอบให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรปิดบัญชีได้ตามกฎหมาย สร้างความ
โปร่งใสในการบริหารงานของคณะกรรมการดำเนินการและฝ่ายจัดการ สร้างระบบควบคุม
ภายใน ระบบบริหารจัดการความเสี่ยงและระบบตรวจสอบที่ดี ทำให้สหกรณ์และกลุ่ม
เกษตรกรปลอดการทุจริตให้มากที่สุด การแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
หากตรวจพบสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีการทุจริตหรือข้อบกพร่อง ให้ดำเนินการแก้ไข
ข้อบกพร่องโดยเร็ว
      ๒. นโยบายด้านการตรวจสอบทางการเงินและการบัญชี ถือเป็นงานสำคัญที่ช่วย
สร้างความโปร่งใสให้แก่สถาบันสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ประกอบด้วย พัฒนาระบบการ
ตรวจสอบบัญชี ให้กรมตรวจบัญชีสหกรณ์เน้นการตรวจสอบบัญชีให้เป็นไปตามมาตรฐาน
วิชาชีพ โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการตรวจสอบเพื่อให้เกิดความรวดเร็ว ทันต่อ
สถานการณ์ ในกรณีเกิดสถานการณ์ทุจริตให้เร่งดำเนินการเชิงรุกในการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
เพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยอาจจัดทำเป็นทีมตรวจสอบเฉพาะกิจและร่วมแก้ไข
ปัญหากับกรมส่งเสริมสหกรณ์ ให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลและตรวจสอบคุณภาพการ
สอบบัญชีสหกรณ์ มุ่งเน้นตรวจสอบคุณภาพงานของผู้สอบบัญชีให้เข้มข้น เป็นไปตาม
มาตรฐานและข้อกำหนดด้านจรรยาบรรณ พัฒนาความสามารถด้านการเงินการบัญชีและ
การควบคุมภายในแก่สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรและเกษตรกร โดยให้ความช่วยเหลือ สอนแนะ
การจัดทำบัญชีให้แก่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้สามารถปิดบัญชีประจำปีได้ ช่วยเสริมสร้าง
ระบบการควบคุมภายในให้มีความรัดกุมมากยิ่งขึ้น พัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการ และ
บุคลากรในสหกรณ์ให้มีความรู้และสามารถนำข้อมูลทางบัญชีมาใช้ในการบริหารจัดการ
รวมถึงสอนแนะการจัดทำบัญชีแก่เกษตรกร เพื่อสร้างจิตสำนึกการออมและลดรายจ่ายที่
ไม่จำเป็น มุ่งพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยีด้านการบัญชี เพื่อให้บริการแก่สหกรณ์และกลุ่ม
เกษตรกร เน้นการส่งเสริมและสนับสนุนให้สหกรณ์มีการใช้เทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้
เกิดประโยชน์ต่อสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร และทันต่อสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ทุกมิติ
      "การขับเคลื่อนการดำเนินงานของทั้ง ๒ หน่วยงาน จะมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบาย
ต่าง ๆ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และร่วมกันผลักดันให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีความ
เข้มแข็ง มีคุณภาพ เป็นที่พึ่งของเกษตรกรและชุมชนได้อย่างยั่งยืน” ที่ปรึกษา รมว.กษ.กล่าว
        ด้านนางสาวอัญมณี ถิรสุทธิ์ รองอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ได้กล่าวบรรยาย
แนวทางการขับเคลื่อนงานของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ว่า กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ได้ร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวง
เกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร มีความเข้มแข็ง โปร่งใส มีระบบบริหาร
จัดการด้านการเงินการบัญชีและการควบคุมภายในที่ดี สามารถปิดบัญชีได้ โดยมีแนวทาง ดังนี้
       ๑. บูรณาการงานสอบบัญชี เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นและโปร่งใสให้กับสหกรณ์และกลุ่ม
เกษตรกร ผ่านการตรวจสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีทั้งภาครัฐและภาคเอกชนกว่า ๗๐๐ คน ซึ่ง
สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร สามารถใช้ประโยชน์จากผลการตรวจสอบบัญชีและนำข้อสังเกต
จากผู้สอบบัญชีไปปรับปรุงการบริหารจัดการและอำนวยประโยชน์แก่มวลสมาชิกโดยรวม
เป็นการป้องกันการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
      ๒. ยกระดับการกำกับดูแล โดยยกระดับการกำกับดูแลสหกรณ์ที่โอนให้ภาคเอกชน
ตรวจสอบอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง เพื่อให้ข้อเสนอแนะต่อสหกรณ์ให้มีระบบการควบคุม
ภายในที่ดี และบูรณาการร่วมกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ ในการเร่งรัดแก้ไขหากเกิดปัญหาอย่าง
รวดเร็วและทันต่อสถานการณ์ พร้อมทั้งควบคุมคุณภาพงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีให้
เป็นไปตามมาตรฐาน
      ๓. พัฒนาความสามารถด้านการเงินการบัญชีแก่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
โดยให้ความช่วยเหลือสอนแนะการจัดทำบัญชีให้แก่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ทั้งในกรณีของ
สหกรณ์กลุ่มไม่พร้อมรับการตรวจหรือสหกรณ์ที่ไม่มีเจ้าหน้าที่บัญชี เพื่อให้สหกรณ์สามารถ
ทำบัญชีได้และส่งงบให้ตรวจสอบได้ รวมถึงการผลักดันให้สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และสมาชิก
ใช้แอปพลิเคชัน Smart4M ที่จะช่วยให้สมาชิกสามารถทราบข้อมูลการทำธุรกรรมของตนเอง
กับสหกรณ์ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสอบความถูกต้องให้แก่สหกรณ์ สหกรณ์สามารถนำ
ข้อมูลไปวางแผนบริหารจัดการและสร้างระบบควบคุมภายในที่ดี ลดความเสี่ยงที่จะเกิดการ
ทุจริตได้.