อตส.เปิดการประชุมแนวทางการประเมินผลสัมฤทธิ์ภารกิจ
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ประจำปี 2560
 
          เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2560 นางบริสุทธิ์ เปรมประพันธ์ อธิบดีกรมตรวจ
บัญชีสหกรณ์ เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "แนวทางการ
ประเมินผลสัมฤทธิ์ภารกิจกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ประจำปี 2560”เพื่อให้
ผู้ปฏิบัติงานมีความเข้าใจแนวทางในการประเมินผลสัมฤทธิ์ที่ถูกต้อง รวมถึงมี
เครื่องมือในการประเมินผลสัมฤทธิ์ที่เหมาะสมเป็นไปแนวทางเดียวกัน และ
สามารถสะท้อนผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง โดยมีนางสาวอรุณี วงศ์ราเชน
ผู้เชี่ยวชาญด้านวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจการเงินสหกรณ์ นางรพีพร กลั่นเนียม
ผู้อำนวยการสำนักแผนงานและโครงการพิเศษ นายกานต์พงศ์ รอดสิน
ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการพิเศษ เป็นวิทยากรบรรยายแก่ผู้เข้าร่วมประชุม
ซึ่งประกอบด้วย ข้าราชการและพนักงานราชการ กลุ่มติดตามประเมินผล
สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 1-10 และผู้ปฏิบัติงานสำนักในส่วนกลางที่
เกี่ยวข้อง รวม 45 ราย ณ ห้องประชุม 404 ชั้น 4 กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
         ในโอกาสนี้ อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กล่าวว่า สำนักแผนงาน
และโครงการพิเศษ ในส่วนกลาง รวมทั้งกลุ่มแผนงาน ในส่วนภูมิภาค ถือเป็นส่วน
สำคัญในการกำหนดทิศทางในการปฏิบัติงานของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ทั้งใน
เรื่องของงบประมาณ แผนงาน และการติดตามประเมินผล รวมทั้งโครงการพิเศษ
ซึ่งเป็นโครงการของรัฐ หรือของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่กรมฯจะต้องสนอง
นโยบายการดำเนินงาน จึงต้องร่วมกันคิดว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า กรมฯ จะตั้ง
เป้าหมายในการขับเคลื่อนงานอย่างไรให้ตอบโจทย์ตามยุทธศาสตร์ชาติ และ
ยุทธศาสตร์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระยะ 20 ปี โดยนำข้อมูลเชิงประจักษ์ที่
เกิดขึ้นในอดีตและปัจจุบันมาคาดการณ์ว่าในอนาคตจะเกิดอะไร และควร
เปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง มองถึงผลสัมฤทธิ์ คือ ผู้รับบริการของกรมฯ ได้แก่ สหกรณ์
กลุ่มเกษตรกร เกษตรกร เยาวชน ประชาชนทั่วไป จะได้รับประโยชน์อะไรบ้าง
เป็นตัวตั้งต้นในการกำหนดแผนงาน เหมือนที่ได้กำหนดเป้าหมายในการให้เกษตรกร
และกลุ่มเกษตรกร มีการบริหารจัดการด้านการเงินการบัญชีที่มีคุณภาพ น่าเชื่อถือ
          "สิ่งสำคัญคือ จะต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการคิด ที่เรียกว่า mindset ของ
บุคลากร ให้ไม่ยึดติดกับบริบทเดิมๆ แต่ให้เปลี่ยนไปตามสถานการณ์ คำนึงถึงผล
สัมฤทธิ์ของงานเป็นหลัก โดยศึกษาและทำความเข้าใจ Roadmap ว่ามีหลักคิดอะไร
ซึ่งแต่ละข้อจะมีตัวชี้วัด เรียกว่า ผลผลิต ถ้าประเมินแล้วสำเร็จก็สามารถใช้วางแผน
ในปีต่อไป แต่ถ้าประเมินแล้วมีจุดบกพร่อง สิ่งเหล่านั้นก็จะเป็นข้อมูลเพื่อแก้ไขและ
ปรับปรุงให้ดีขึ้นต่อไป”