สตท.8 ร่วมประชุมและติดตาม รมว.กษ. และคณะ ลงพื้นที่
ตรวจเยี่ยมผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช
 
       เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2559 กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ร่วมภารกิจ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตรวจเยี่ยมผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่
จังหวัดนครศรีธรรมราช โดย พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำคณะผู้บริหารระดับสูงของ
กระทรวงฯ ลงพื้นที่ เขตลุ่มน้ำปากพนังจังหวัดนครศรีธรรมราช
ประชุมติดตามสถานการณ์อุทกภัย โดยรับฟังบรรยายสรุปผลกระทบ
จากอุทกภัย และการนำเสนอแผนงาน โครงการบรรเทาอุทกภัยเมือง
นครศรีธรรมราช ตามที่ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกัน
บูรณาการบริหารจัดการน้ำ เพิ่มศักยภาพของแม่น้ำลำคลองทุกสาย
เพื่อรองรับสถานการณ์ "น้ำท่วม น้ำแล้ง และการพัฒนาคุณภาพน้ำ”
เพื่อลดความเสียหายด้านการเกษตรให้น้อยที่สุดโดยยกตัวอย่าง
หาดใหญ่โมเดล ให้เป็นต้นแบบในการบริหารจัดการน้ำ เนื่องจากพื้นที่
ของตัวอำเภอเมืองนครศรีธรรมราชและอำเภอหาดใหญ่ มีลักษณะ
เป็นที่ลุ่มรูปแอ่งกะทะเหมือนกัน ณ ห้องประชุมศูนย์อำนวยการและ
ประสานการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
       ในโอกาสนี้ รมว.กษ.พร้อมคณะ ได้เดินทางไปยังศูนย์เรียนรู้
การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ส้มโอทับทิมสยาม)
อำเภอปากพนัง ของนายวีระ สุแสง เกษตรกรผู้ปลูกส้มโอทับทิมสยาม
ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย โดยนายวีระ ได้รายงาน ความเสียหาย
และข้อมูล เกี่ยวกับการนำบัญชีต้นทุนอาชีพ มาใช้ในการบริหารจัดการ
ภาคการเกษตร โดยมีนางสาวเครือทิพย์ มูสิกสง ผู้เชี่ยวชาญด้านการ
บัญชีและการสอบบัญชี สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 9 นายสุมนต์
หาญศิริสวัสดิ์ หัวหน้าสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์นครศรีธรรมราช
พร้อมด้วยบุคลากรในสังกัด ร่วมรายงานการดำเนินงานการส่งเสริม
องค์ความรู้ทางบัญชีให้แก่เกษตรกรในพื้นที่
       ทั้งนี้ รมว.กษ.ได้มอบแนวทางการบริหารจัดการน้ำช่วยเหลือเกษตรกร
ในระยะยาว โดยเน้นย้ำให้หน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ใน
จังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมบูรณาการยกระดับมาตรฐานการผลิตสินค้า
เกษตรของจังหวัดให้เป็น "เกษตรคุณภาพ” ตามนโยบายส่งเสริมการเกษตร
แบบ "แปลงใหญ่” ยกตัวอย่าง ส้มโอทับทิมสยาม ซึ่งเป็นสินค้าเกษตรที่มี
ความโดดเด่นของจังหวัดนครศรีธรรมราช สร้างมูลค่าให้แก่เกษตรกรเป็น
จำนวนมาก หากมีการรวมกลุ่มการผลิตในรูปแบบแปลงใหญ่ จะช่วยยกระดับ
มาตรฐานการผลิตให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน คงความเป็นอัตลักษณ์ของสินค้า
และราคาไว้ได้ และให้หน่วยงานภาครัฐสามารถเข้ามาช่วยเหลือได้ในทุกมิติ
ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเพาะปลูก การถ่ายทอดเทคโนโลยี
การสนับสนุนปัจจัยการผลิต ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนให้เกษตรกร และมีสัดส่วน
รายได้จากภาคการเกษตรที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น พร้อมกันนี้ ได้เดินทางไปพบปะ
เยี่ยมเยียนให้กำลังใจเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย พร้อมมอบเสบียงอาหารสัตว์
(หญ้าแห้ง)ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ 30 ราย ณ ศูนย์วิจัยข้าวนครศรีธรรมราช
ตำบลบางจาก อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช