กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ จัดอบรมเพิ่มประสิทธิภาพผู้สอบบัญชี
เรียนรู้การจัดทำงบการเงินรูปแบบใหม่
 
          กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ จัดประชุมซักซ้อมการปฏิบัติงานสำหรับผู้สอบบัญชี
ภาคเอกชน เรื่อง "งบการเงินของสหกรณ์รูปแบบใหม่ ที่มีผลบังคับใช้ปี ๒๕๕๖”
เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับงบการเงินรูปแบบใหม่ การประเมินความเสี่ยงจาก
การควบคุมและการจัดชั้นคุณภาพการควบคุมภายใน แผนการสอบบัญชีโดยรวม และ
แนวการสอบบัญชีที่ปรับปรุงใหม่ แก่ผู้สอบบัญชีหรือผู้ช่วยผู้สอบบัญชีที่เข้าร่วมการ
ประชุม รวม ๓๐๐ คน ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ เวลา ๐๘.๓๐ น.
ณ โรงแรมปริ๊นซ์พาเลซ กรุงเทพฯ
         นายสรรเสริญ อัจจุตมานัส รองอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์กล่าวว่า
ปัจจุบัน สภาวิชาชีพบัญชีได้มีการแก้ไขปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีใหม่หลายฉบับ
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ จึงได้มีการปรับปรุงรูปแบบงบการเงินของสหกรณ์รูปแบบ
ใหม่ให้สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพบัญชีซึ่งเป็นไปตามหลักสากล รวมทั้งปรับปรุง
คู่มือการตรวจสอบบัญชี ประกอบด้วยการประเมินความเสี่ยงจากการควบคุมและกา
ประเมินชั้นคุณภาพการควบคุมภายใน แผนการสอบบัญชีโดยรวม และแนวการสอบ
บัญชี ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการสอบบัญชีที่มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อชี้เเจงให้ผู้
ปฏิบัติงานสอบบัญชี ทราบหลักการและข้อกำหนดสำคัญที่ควรให้ความสนใจ และ
ได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติงานสอบบัญชีให้เป็นไปตามระเบียบนายทะเบียน
สหกรณ์และระเบียบกรมตรวจบัญชีสหกรณ์กำหนด ตลอดจนเปิดโอกาสให้ผู้สอบ
บัญชี ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ ซึ่งจะส่งผลให้การปฏิบัติงานสอบบัญชี
มีประสิทธิภาพและผลงานมีคุณภาพน่าเชื่อถือ ทั้งนี้ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ยังได้มี
นโยบายในการมอบหมายงานสอบบัญชีสหกรณ์ให้ภาคเอกชนตรวจสอบบัญชี เพื่อเปิด
โอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมปฏิบัติงานตามนโยบายรัฐบาล โดยกระจายงาน
สอบบัญชีสหกรณ์นอกภาคเกษตรที่มีทุนดำเนินงานที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และ
สหกรณ์ต้องมีระบบการควบคุมภายในที่ดี ให้จัดจ้างผู้สอบบัญชีภาคเอกชนตรวจสอบ
บัญชีสหกรณ์ เพื่อที่กรมฯ จะได้นำอัตรากำลังที่มีอยู่อย่างจำกัด สามารถให้ความ
ช่วยเหลือแนะนำด้านการเงินการบัญชี ตรวจสอบบัญชีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มี
ขนาดเล็กและยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเอง รวมทั้งปฏิบัติภารกิจตามพันธกิจของกรมฯ
 ให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งเมื่อมอบหมายงานสหกรณ์ให้ผู้สอบบัญชีภาคเอกชนตรวจสอบ
บัญชีแล้ว จะช่วยให้สหกรณ์สามารถจัดการประชุมใหญ่ได้เร็วขึ้น เป็นผลให้สมาชิก
ได้รับเงินปันผลและเฉลี่ยคืนเร็วขึ้นด้วย
         รองอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กล่าวต่อว่า จากการติดตามการปฏิบัติงาน
ของผู้สอบบัญชีภาคเอกชน พบว่าผู้สอบบัญชีภาคเอกชนหลายรายไม่ปฏิบัติตาม
คำแนะนำในการปฏิบัติงานตามระบบงานสำหรับผู้สอบบัญชีสหกรณ์ภาคเอกชน
(CAD_CA) คือบันทึกข้อมูลไม่ครบถ้วน บันทึกข้อมูลล่าช้าเกินเวลาที่กำหนดไว้ในขั้นตอน
การปฏิบัติงาน รวมทั้งไม่จัดส่งรายงานการสอบบัญชี งบการเงินและกระดาษทำการภายใน
ระยะเวลาที่กำหนด นอกจากนี้ยังพบว่า ผลการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีบางรายต่ำกว่า
เกณฑ์การประเมินซึ่งจากการสอบถามผู้สอบบัญชีส่วนใหญ่ชี้แจงว่า ต้องการตอบสนอง
ความต้องการของสหกรณ์ในการจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปีเร็วขึ้น จึงทำให้ต้องปฏิบัติ
งานตรวจสอบบัญชีประจำปีและจัดทำรายงานการสอบบัญชีงบการเงินและกระดาษทำการ
ด้วยความรวดเร็ว แต่เนื่องจากปริมาณกระดาษทำการมีจำนวนมาก และต้องบันทึกข้อมูลใ
นระบบงานสำหรับผู้สอบบัญชีสหกรณ์ภาคเอกชน จึงทำให้ปฏิบัติงานไม่ทันเวลาที่กำหนด
 รวมทั้งงานสอบบัญชีไม่ได้คุณภาพ ดังนั้น กรมฯ จึงได้กำหนดระเบียบกรมตรวจบัญชี
สหกรณ์ว่าด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณาและวิธีการเสนอชื่อผู้สอบบัญชีภาคเอกชนเพื่อ
แต่งตั้งเป็นผู้สอบบัญชีสหกรณ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๕ โดยประกาศเมื่อวันที่ ๑๖
พฤศจิกายน ๒๕๕๕ และระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ ว่าด้วยจรรยาบรรณของผู้สอบบัญชี
สหกรณ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ ประกาศเมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๖ รวมทั้งประกาศ
คณะกรรมการจรรยาบรรณของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ เรื่อง ลักษณะข้อบกพร่องที่ใช้พิจารณา
จรรยาบรรณของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติงานต่อไปด้วย.