กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เสริมทักษะสหกรณ์เรียนรู้การจัดทำ
งบการเงินรูปแบบใหม่ ตามมาตรฐานสากล พร้อมชูโครงการ
นำร่องโอนกลับสหกรณ์ให้ผู้สอบบัญชีภาครัฐตรวจสอบบัญชี
หวังแก้ปัญหาทุจริตในสหกรณ์
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ จัดการประชุมสัมมนา เรื่อง "การเปลี่ยนแปลงงบ
การเงินของสหกรณ์ตามมาตรฐานรายงานทางการเงิน เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ
เกี่ยวกับการจัดทำงบการเงินรูปแบบใหม่ และแนวทาง ในการสอบบัญชีสหกรณ์ภาคเอกชน
ปี ๒๕๕๖ แก่ฝ่ายบริหารหรือฝ่ายจัดการของสหกรณ์ที่มีความรู้ด้านบัญชีและ ผู้ที่เกี่ยวข้อง
รวม ๖๐๐ คน โดยมีนายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์ เป็นประธานเปิดการประชุม ในวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ เวลา ๐๙.๐๐ น.
ณ โรงแรมปริ๊นซ์พาเลซ กรุงเทพฯ
นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กล่าวว่า จากสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจในปัจจุบัน ที่มีการเปลี่ยนแปลงและแข่งขันกันอยู่
ตลอดเวลา โดยเฉพาะด้านการลงทุน จึงจำเป็นที่สหกรณ์ต้องทราบและปรับตัวเองว่าควรจะมี
การบริหารจัดการด้านการลงทุนอย่างไรให้มีประสิทธิภาพและทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
ไป โดยในปัจจุบันสภาวิชาชีพบัญชีได้มีการปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีไทย ให้สอดคล้องกับ
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ซึ่งประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยถือใช้เป็นแนวทาง
ในการจัดทำงบการเงิน เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถตัดสินใจใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สูงสุด จากการมีข้อมูลทางการเงินที่จัดทำขึ้นตามมาตรฐานเดียวกัน ดังนั้น กรมตรวจบัญชี
สหกรณ์ ในฐานะที่เป็นผู้กำกับดูแลด้านการเงินและการบัญชีของสหกรณ์ จึงได้ปรับปรุงรูปแบบงบ
การเงินให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อใช้ประกอบการจัดทำงบการเงิน
ของสหกรณ์อย่างเป็นมาตรฐานและถือปฏิบัติเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ซึ่งจากการประชุมในครั้งนี้
จะทำให้ฝ่ายบริหารและฝ่ายจัดการของสหกรณ์ ได้รับความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดทำงบ
การเงินที่มีการเปลี่ยนแปลงไปและสามารถจัดทำงบการเงินให้เป็นไปอย่างมีมาตรฐานในแนวทาง
เดียวกัน รวมทั้งสามารถบริหารจัดการเงินลงทุนของสหกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ รมช.กษ. กล่าวภายหลังเปิดการประชุมว่า ปัจจุบัน มีสหกรณ์เกิดขึ้นจำนวนมาก ซึ่ง
การที่จะทำให้สหกรณ์มีความเข้มแข็งได้ จำเป็นต้องมีระบบตรวจสอบบัญชีที่โปร่งใส กรมตรวจบัญชี
สหกรณ์ จึงมีบทบาทสำคัญ ในการช่วยตรวจสอบความถูกต้องทางบัญชีให้กับสหกรณ์ เพื่อป้องกัน
ไม่ให้เกิดการทุจริตขึ้นในสหกรณ์ โดยจะต้องอัพเดตข้อมูลให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อทำให้การ
ตรวจสอบบัญชีเป็นไปอย่างเข้มข้นมากขึ้น ทั้งนี้ ยังได้มอบหมายให้กรมฯ เข้ามาดูแลเรื่องการ
ตรวจสอบบัญชี ในโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง เพื่อทำให้
ระบบการตรวจสอบบัญชีมีความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย
ด้านนายวิจักร อากัปกริยา อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ได้กล่าวถึงนโยบายกรมตรวจ
บัญชีสหกรณ์เกี่ยวกับการตรวจสอบบัญชีสหกรณ์ โดยผู้สอบบัญชีภาคเอกชน ปี ๒๕๕๖ ว่า กรมตรวจ
บัญชีสหกรณ์ ได้มีนโยบายในการถ่ายโอนงานสอบบัญชีสหกรณ์ให้ภาคเอกชนตรวจสอบบัญชี
สหกรณ์ ซึ่งเป็นสหกรณ์นอกภาคการเกษตร ประกอบด้วย สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
และสหกรณ์บริการ ที่มีทุนของสหกรณ์ตั้งแต่ ๕๐ ล้านบาทขึ้นไป และมีผลการจัดชั้นคุณภาพการควบคุม
ภายในอยู่ในระดับดีขึ้นไป รวมทั้งจัดทำงบการเงินได้ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันสิ้นปีทางบัญชีของสหกรณ์
เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมปฏิบัติงานตามนโยบายรัฐบาล ทั้งนี้ เพื่อที่กรมฯ
จะได้สามารถนำอัตรากำลังที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้ความช่วยเหลือแนะนำด้านการเงินการบัญชี ตรวจสอบ
บัญชีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีขนาดเล็กและยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ รวมทั้งปฏิบัติภารกิจ
ตามพันธกิจให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งส่วนหนึ่งส่งผลดีในเรื่องการประชุมใหญ่ได้เร็วและสมาชิกได้รับเงิน
ปันผลและเฉลี่ยคืนเร็วขึ้น แต่ก็ยังมีปัญหาเกิดขึ้น สหกรณ์หลายแห่งมีข้อบกพร่องทางการเงิน หรือมีการ
ดำเนินธุรกิจไม่เป็นไปตามกฎหมาย เช่น มีการทำธุรกรรมสลากกินแบ่งรัฐบาล และมีความเสียหายเกิดขึ้น
จากการที่สหกรณ์ทำธุรกรรมดังกล่าว
อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กล่าวต่อว่า เพื่อเป็นการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการบริหารงาน
ด้านการเงินการบัญชีให้ดีขึ้น จึงได้เตรียมโครงการนำร่องโอนกลับสหกรณ์ให้ผู้สอบบัญชีภาครัฐตรวจสอบ
บัญชี โดยโอนกลับสหกรณ์ที่ได้มอบหมาย (ถ่ายโอน) งานสอบบัญชีให้ผู้สอบบัญชีภาคเอกชนตรวจสอบ
บัญชีกลับมาให้ผู้สอบบัญชีภาครัฐดูแลตรวจสอบบัญชีเพียง 1 ปีบัญชีของสหกรณ์เท่านั้น ซึ่งจะนำร่องโอน
กลับจังหวัดละ 1 แห่ง โดยเริ่มกำหนดเป้าหมาย ในปี 2556 และเวียนโอนกลับไปจนครบทุกสหกรณ์ที่
จัดจ้างผู้สอบบัญชีภาคเอกชนตรวจสอบบัญชีในแต่ละ จังหวัด เพื่อตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรฐานการ
บัญชี กฎหมาย ระเบียบ คำแนะนำของนายทะเบียนสหกรณ์และของทางราชการ รวมทั้งเยียวยาสหกรณ์
ที่มีข้อบกพร่องทางการเงิน และในปีบัญชีถัดไป ก็จะให้สหกรณ์ดำเนินการจัดจ้างผู้สอบบัญชีภาคเอกชน
ตรวจสอบบัญชีได้ต่อไป นอกจากนี้ ยังมี โครงการกำหนดค่าธรรมเนียมในการสอบบัญชีของผู้สอบ
บัญชีภาคเอกชน เพื่อกำหนดค่าธรรมเนียมในการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาคเอกชนให้มีหลักเกณฑ์
เดียวกัน ซึ่งจะส่งผลดีและเกิดความเป็นธรรมด้วยกันทั้งฝ่ายสหกรณ์และผู้สอบบัญชี ในการทำให้งานสอบ
บัญชีสหกรณ์ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นการป้องกันการตัดราคากันเองของผู้สอบบัญชีภาคเอกชน
อีกด้วย.