วันนี้...กับ...การสร้างแบรนด์สินค้า  เพิ่มมูลค่า B to B  ระหว่างสหกรณ์

       จากการเดินหน้าของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ธุรกิจเพื่อธุรกิจ (Business to Business : B to B) ของภาคสหกรณ์ไทยอย่างต่อเนื่อง นับจากต้นปี 2553  ปัจจุบัน มี 300 กว่าสหกรณ์ ที่สนใจสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ จากสหกรณ์ภาคเกษตรทั่วประเทศกว่า 3,000 แห่ง  ที่มีวงเงินการจัดการธุรกิจ กว่า 120,000 ล้านบาท และมีแนวโน้มที่จะขยายเครือข่ายสหกรณ์ต่อไปอีกจำนวนไม่น้อย ซึ่งหากว่าสหกรณ์มีการรวมตัวทำธุรกิจต่อเนื่องอย่าง
นี้แล้ว จะสามารถสร้างความเข้มแข็งต่อเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างยั่งยืน และสิ่งหนึ่งที่
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ พร้อมจะพัฒนาควบคู่กันไป คือ การสร้างแบรนด์สินค้า ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างเครดิตและมูลค่าเพิ่มให้กับสหกรณ์ เพื่อประกันความมีคุณภาพของผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด
ผู้บริโภค
      
       นายอนันต์ ภู่สิทธิกุล อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์  
เจ้าของแนวความคิดการเพิ่มมูลค่าธุรกิจสหกรณ์ เผยว่า หากมอง
จากภาพรวมภาวะเศรษฐกิจของแต่ละสหกรณ์แล้ว พบว่า ฐานะ
ทางการเงินของสหกรณ์ เคลื่อนตัวไปอย่างช้าๆ อีกทั้งธุรกิจของ
สหกรณ์ก็ยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมเท่าใดนัก จึงมีแนว
คิดที่จะเพิ่มมูลค่าธุรกิจแก่ภาคสหกรณ์ โดยมุ่งเน้นให้สหกรณ์

มองเห็นความสำคัญของการสร้าง “แบรนด์สินค้า” เป็นของตน
เอง เพื่อให้ติดตลาดผู้บริโภค มีความน่าเชื่อถือ และประกัน
ความมีคุณภาพของสินค้าเหล่านั้นในการเชื่อมโยงเครือข่าย
ระหว่างสหกรณ์ ทั้งนี้ ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบที่มา ที่ไป และ
สร้างความมั่นใจในการบริโภคสินค้าได้ ซึ่งปัจจุบัน มีสหกรณ์
จำนวนไม่น้อย ที่มองเห็นคุณประโยชน์ และหันมาเพิ่มมูลค่าให้
กับสินค้า โดยจัดทำแบรนด์เป็น “ตรา” ของสหกรณ์ตนเอง และ

อีกไม่น้อยที่กำลังมีโครงการจัดทำแบรนด์สินค้า

 
 
 
      
       สหกรณ์การเกษตรสุวรรณภูมิ จำกัด จังหวัด
ร้อยเอ็ด ถือเป็นหนึ่งในสหกรณ์ที่มีทั้งแบรนด์สินค้า
ที่ได้รับการจดลิขสิทธิ์เป็นของตนเอง และมีแบรนด์
สินค้าร่วมกับสหกรณ์อื่น ในเรื่องนี้ นายประยุทธ หงส์-
ทอง  ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรสุวรรณภูมิ จำกัด
จังหวัดร้อยเอ็ด เปิดเผยว่า
      
       “ที่ผ่านมา สหกรณ์ได้สร้างแบรนด์สินค้าข้าวสาร คือ “ทุ่งกุลาฟาร์ม” และ “ทุ่งกุลา ๑๐๑” ที่ใช้ร่วมกับสหกรณ์อื่น  แต่ขณะนี้สหกรณ์ได้มีแบรนด์ที่จดลิขสิทธิ์อย่างถูกต้องเป็นของตนเองแล้ว คือ “ช้างชูรวงข้าว” ”
       
       นายประยุทธ  กล่าวเพิ่มเติมว่า สหกรณ์ได้เข้าร่วมเจรจาธุรกิจตามโครงการของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ซึ่งจัดขึ้นที่จังหวัดจันทบุรี โดยผลจากการ
สร้าง “แบรนด์สินค้า” ให้ติดหูติดตลาด เป็นการช่วยสร้างเครดิตให้เป็นที่น่าเชื่อถือได้เป็นอย่างมาก และปัจจุบันมีสหกรณ์เครือข่ายจำนวนไม่น้อยที่ได้ทำการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกัน
      
       “เคยไป B to B ที่จันทบุรีมาแล้ว และก็ส่งข้าวทุกวัน ทุกสัปดาห์ และยังต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และ
ก็มีการแลกเปลี่ยนข้าวกับผลไม้ อย่างเช่น ลองกองจากภาคใต้ เมื่อรับมาแล้ว เราจะกระจายไปยังสหกรณ์เครือข่าย 20 แห่ง” 

 
       สำหรับสหกรณ์การเกษตรห้วยยอด จำกัด จังหวัดตรัง เป็นอีกสหกรณ์หนึ่งที่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์ “ข้าวสาร” จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไปวางจำหน่ายที่ภาคใต้  โดยนายชาลี ทวิสุวรรณ ประธานสหกรณ์การเกษตรห้วยยอด จำกัด  ได้กล่าวว่า 
 
 
      “ตอนนี้คิดอยู่ว่าจะมีแบรนด์ เมื่อกี้ก็กำลังเจรจา
  ข้าวสารของร้อยเอ็ดอยู่ ว่าต่อไปอาจจะเป็นแบรนด์
  ของสหกรณ์การเกษตรห้วยยอดเอง แล้วข้าวสารก็
  ให้เขาเป็นคนบรรจุให้ คือ ผลิตโดยเขา ใช้แบรนด์
  ของเรา สหกรณ์ทางอีสานมีข้าวสารเยอะ เราก็ซื้อ
  ข้าวสารไปจำหน่ายทางภาคใต้ เพราะทางภาคใต้คน
  ทำนาไม่ค่อยมี เพราะจะมีอาชีพทำสวนยางและสวน
  ปาล์ม ถ้าช่วยเหลือกันอย่างนี้ได้ สหกรณ์ไทย
  รุ่งเรืองแน่”
      
       ในทางกลับกัน ธุรกิจของสหกรณ์การเกษตร
  ห้วยยอด จำกัด เองก็มีข้อจำกัดในการแลกเปลี่ยน
สินค้ากับสหกรณ์อื่น เนื่องด้วยปาล์ม และยางพารา เป็นสินค้า
เฉพาะกลุ่ม แต่ก็ไม่ได้เป็นปัญหาสำหรับคุณชาลี เพราะหากมอง
แล้ว หากสหกรณ์ไม่ช่วยเหลือสหกรณ์ด้วยกันแล้ว คงไปไม่รอด
ในอนาคต  
 
 
       “ในส่วนของผมเอง ผมยังไม่ได้นำเสนอสินค้าให้กับทางเขา
เพราะว่า สินค้าของเราเองมันเป็นส่วนที่มานำเสนอขายกับเขาค่อน
ข้างลำบาก อย่างยางพารามันก็ขายยากอยู่แล้ว อย่างปาล์มมันก็
เป็นไปไม่ได้ที่จะมาขายเขาที่นี่ แม้ว่าเราจะไม่ได้แลกเปลี่ยนกับ
ของเขา แต่ในฐานะที่เราต้องเอาของเขาไปใช้ ไปกินอยู่ทุกวัน
เราก็น่าจะเอาของสหกรณ์ด้วยกันไปขาย ก็น่าจะดูแลสหกรณ์
ด้วยกัน” 

 
      
       ปิดท้ายที่สหกรณ์การเกษตรพยุหะคีรี จำกัด จังหวัดนครสวรรค์ ที่แม้ว่ายังไม่มีแบรนด์สินค้าเป็นของตนเอง แต่ทว่าได้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างสหกรณ์กันไปแล้ว แต่อีกไม่นานหากธุรกิจดำเนินไปได้ด้วยดี การสร้างแบรนด์ให้กับสินค้าตนเอง จะเป็นทางเลือกที่ดีในการช่วยสร้างความเข้มแข็งให้แก่สหกรณ์ตนเอง
 
 
       “ตอนนี้ร่วมมือกับสหกรณ์การเกษตรคลองขลุง กำแพงเพชร คือ
  เรานำสินค้าของเขามาจำหน่าย เราเอาปุ๋ยเขามา ในส่วนของพันธุ์
  ข้าว เราก็จะไปเอามาจากสหกรณ์การเกษตรดอนเจดีย์ แล้วก็สหกรณ์
  การเกษตรเมืองชัยนาท ที่เขามีโรงงานปรับปรุงเมล็ดพันธุ์ เราก็จะ
  เชื่อมโยงกันอย่างนั้น เหมือนกับว่า เรารับของเขามา แล้วเราก็เอา
  ของที่อื่นมาขายเขา
       การเจรจาธุรกิจ มันจะมีประโยชน์ในส่วนของสหกรณ์ ตรงที่ว่า คน
  จะรู้จักสหกรณ์เรามากขึ้น และรู้จักสหกรณ์อื่น ๆ โดยคนทั่วไปจะไม่
  ค่อยรู้จักสหกรณ์กันเท่าไหร่ แล้วยิ่งเป็นสหกรณ์การเกษตร ไม่รู้ด้วย
  ซ้ำว่าสหกรณ์การเกษตรทำอะไร ถ้าหากเราทำตรงนี้ขึ้นไป คนที่มา
  ใช้บริการเรา จะรู้จักเรามากขึ้น”  คุณปารณีย์ คล้ายปาน ผู้จัดการ
  สหกรณ์การเกษตรพยุหะคีรี จำกัด จังหวัดนครสวรรค์ กล่าว
 
       การเจรจาธุรกิจ B to B นับว่าเป็นการจุดประกายให้สหกรณ์มองย้อนดูเครือข่ายภาคสหกรณ์ ร่วมช่วยเหลือสหกรณ์ด้วยกันเอง และเป็นจุดเริ่มต้นในการมองเห็นแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจสหกรณ์ของตนเอง โดยการพัฒนาสร้าง “แบรนด์สินค้า” เพื่อเพิ่มเครดิตและความน่าเชื่อถือ ที่ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบที่มาที่ไปของผลิตภัณฑ์ อีกทั้งเป็นการขยายช่องทางการค้า อันจะนำผลิตผลออกสู่ตลาดต่างประเทศได้ไม่ยาก และนำพาสหกรณ์ไทยให้ก้าวไกลไปสู่สากล