|
|
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ จัดประชุมเรื่อง ทิศทางการทำงานตามนโยบายรัฐบาล ปี 2554 และประเมินผลงานปี 2553 เตรียมพร้อมขับเคลื่อนสร้างมูลค่าเพิ่มทางการเงินภาคสหกรณ์ ในปีหน้า
เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2553 นายศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการประชุมเรื่อง ทิศทางการทำงานตามนโยบาย ปี 2554 และการประเมินผลงานปี 2553 โดยมี นายอนันต์ ภู่สิทธิกุล อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กล่าวรายงานถึง การดำเนินงานของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ในปี 2553 ที่ผ่านมา พร้อมทั้งทิศทาง การทำงานตามนโยบายรัฐบาลและนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ด้านการ พัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ในปีงบประมาณ 2554 ณ โรงแรมปริ้นซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้บริหารและข้าราชการกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ร่วมประชุม จำนวน 250 คน นายศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ในฐานะที่เข้ามาบริหารราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และได้ กำกับดูแลการปฏิบัติงานของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ภายใต้การนำของ นายอนันต์ ภู่สิทธิกุล อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา พบว่า การพัฒนากระบวนการสหกรณ์เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การรวมกลุ่มและ จัดการธุรกิจกลุ่มค่อนข้างมาก เป็นผลให้ภาคสหกรณ์เจริญเติบโตในเชิงรุก อย่างต่อเนื่อง โดยมีจำนวนสหกรณ์ 7,767 แห่ง สมาชิก 10.69 ล้านคน ทุนดำเนินงาน 1,272.89 ล้านบาท และโครงสร้างธุรกิจหลักที่สหกรณ์ดำเนินงาน นอกเหนือจากการรับฝากเงินและให้สินเชื่อ ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนและเพิ่ม ปริมาณธุรกิจอย่างมากจากการจัดหาสินค้าจำหน่าย 60,367.94 ล้านบาท การรวบรวมผลิตผลและแปรรูป 80,254.29 ล้านบาท ธุรกิจให้บริการและส่งเสริม 1,158.21 ล้านบาท จากการเติบโตดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่ในภาคการเกษตร มีความเข้มแข็ง สามารถพัฒนาตนเองได้ตามแนวทางพระราชดำริได้อย่างยั่งยืน รัฐบาลจึงได้ผลักดันนโยบายด้านการสร้างความเชื่อมั่น กระตุ้นเศรษฐกิจ และการปรับโครงสร้าง ด้วยการเร่งรัดเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การลดต้นทุน เพื่อสร้างความมั่นคงทางรายได้ ตลอดจนการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร ที่มีส่วนช่วย สนับสนุนกระบวนการสหกรณ์ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้น กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ได้ผลักดันนโยบายเหล่านี้ในเชิงรุก โดยปีที่ผ่านมาจึงถือว่าเป็นปีแห่งการฟื้นฟู พื้นฐานใหม่ ให้กับกระบวนการสหกรณ์ โดยมุ่งให้เกษตรกรได้รับประโยชน์ การปรับเปลี่ยน พัฒนาตนเองจากรากฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นควบคู่ไปกับเทคโนโลยี ที่เหมาะสม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาทั้งในด้านการสร้างโอกาสเข้าถึงองค์ความรู้ การรวมกลุ่มและจัดการธุรกิจกลุ่มที่สร้างสรรค์ต่อสมาชิก การเข้าถึงทุนดำเนินการ และการเข้าถึงระบบตลาด ในวันนี้ผมมั่นใจและเชื่อมั่นว่า ระบบสหกรณ์จะเป็นทางออก ทางรอดของ สังคมไทย ซึ่งบทพิสูจน์ให้เห็นว่าการเจริญเติบโตและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ของภาคสหกรณ์ กลไกการพึ่งพาตนเอง ร่วมคิดร่วมทำ การรวมกลุ่มผ่านกลไก ทางบัญชีที่ได้มาตรฐาน โปร่งใส ตรวจสอบได้ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้สหกรณ์ สามารถผ่านพ้นวิกฤตได้อย่างเข้มแข็ง และยั่งยืน นายศุภชัย กล่าว
ด้าน นายอนันต์ ภู่สิทธิกุล อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เผยถึง แนวทางการทำงานของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ในปีงบประมาณ 2554 ว่า กรมตรวจบัญชีสหกรณ์มีทิศทางการทำงานเพื่อขับเคลื่อนการสร้างมูลค่าเพิ่ม ทางการเงินให้กับภาคสหกรณ์ในการบริหารธุรกิจของสหกรณ์ เอื้อประโยชน์ ต่อมวลสมาชิก โดยกำหนดให้แนวทางการทำงานในปี 2554 เป็นปีแห่งการ สร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กับกระบวนการสหกรณ์ผ่านกลไกการบัญชี โดยกำหนด แนวทางในการสร้างสรรค์ระบบงานเชิงรุกใน 5 มิติหลัก ๆ 1) มาตรฐานวิชาชีพ ได้แก่ มาตรฐานทางบัญชี มาตรฐานการสอบบัญชี และมาตรฐานการเงิน 2) เครื่องมือและกลไกทางด้าน IT ในการขับเคลื่อนพัฒนากระบวนสหกรณ์ ไม่ว่าจะเป็น Full Pack Accounting BACK OFFICE ระบบเตือนภัยรายสหกรณ์ (Easy to Eat) Auditing V9 และการจัดตั้ง CAD HUB ระดับภาคและระดับจังหวัด 3) ภูมิปัญญาทางบัญชี โดยเสริมสร้างองค์ความรู้ทางบัญชีให้กับคณะกรรมการ เจ้าหน้าที่ และผู้ตรวจสอบกิจการ รวมทั้งสมาชิก เกษตรกร เยาวชน และประชาชนโดยเฉพาะการทำบัญชีต้นทุน การสร้างมาตรฐานการบัญชี วิสาหกิจชุมชน การพัฒนาระบบควบคุมภายในกองทุนหมู่บ้าน การขึ้นทะเบียน และปรับบทบาท ครูบัญชี เพื่อทำหน้าที่วิทยากรระดับตำบล และการพัฒนา ยุวบัญชีในโรงเรียน 4) การรวมกลุ่มและการจัดการธุรกิจกลุ่ม โดยการสร้าง ความร่วมมือภาคประชาชน ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางในการบริการ การแก้ปัญหา ข้อบกพร่องทางการเงิน เพิ่มศักยภาพการบริหารทางการเงิน การพัฒนาและสร้าง พนักงานบัญชีเอกชน และ 5) การบริหารองค์กรเชิงระบบ เพื่อรองรับโครงสร้าง บุคลากรและการทำงานของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ในอนาคต สำหรับเป้าหมายของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ คงไม่ได้หยุดอยู่ที่การเงิน เพียงอย่างเดียว ซึ่งในฐานะที่กรมตรวจบัญชีสหกรณ์เป็นส่วนหนึ่งของความ รับผิดชอบในการพัฒนากระบวนการสหกรณ์ พร้อมขับเคลื่อนการสร้างมูลค่าเพิ่ม ทางการเงินให้กับภาคสหกรณ์ เพื่อนำพาภาคสหกรณ์ก้าวไปสู่การบริหารจัดการ เชิงแบ่งปันตามหลักสากล สร้างความเข้มแข็งบนพื้นฐานความพอเพียงให้กับ ภาคสหกรณ์ไทย เอื้อประโยชน์ต่อสมาชิก ชุมชน สังคม และประเทศชาติ อย่างยั่งยืน | |
|
|
|