|
|
Coop Shop ธุรกิจสินค้าสหกรณ์ขนาดย่อย หนึ่งทางเลือกการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ภาคสหกรณ์ไทย
แนวคิดการจัดทำธุรกิจสินค้าสหกรณ์ขนาดย่อย หรือ Coop Shop นับว่าเป็นหนึ่งในการสร้าง มูลค่าเพิ่ม ให้กับธุรกิจภาคสหกรณ์ ซึ่งสร้างสรรค์ แนวคิดโดยกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ภายใต้การนำของ นายอนันต์ ภู่สิทธิกุล |
|
อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ที่มุ่ง สนับสนุนพัฒนาระบบตลาด โดยจัด จำหน่ายสินค้าคุณภาพผ่านการคัดสรร อย่างดี และยังแผ่ขยายสินค้าพื้นบ้าน ของชุมชน ผลิตผลจากครัวเรือนสมาชิก อันจะช่วยขยายช่องทางตลาด เพื่อ ประโยชน์แก่สมาชิกและคนในชุมชน โดยกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ซึ่งมีพันธกิจ หลักในการพัฒนาและวางระบบบัญชี ให้ เหมาะสมกับธุรกิจภาคสหกรณ์ จะเป็นผู้ พัฒนามาตรฐานบัญชี เพื่อให้เกิดความ โปร่งใส ตรวจสอบได้ รวมไปถึงการ สนับสนุนโปรแกรมระบบบัญชี Full Pack อันประกอบด้วย ระบบบัญชีแยกประเภท และระบบสินค้า เพื่อบริหารจัดการร้านค้า Coop Shop และพัฒนาภาคสหกรณ์ใน การสร้างมูลค่าเพิ่มในธุรกิจสหกรณ์ร้านค้า ด้วย |
ทั้งนี้ แนวคิดดังกล่าว ได้เริ่มดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมไปแล้ว โดยนำ ร่องในมิติของสหกรณ์การเกษตร ณ สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงดอย อินทนนท์ จำกัด จังหวัดเชียงใหม่ และมิติของสหกรณ์โรงเรียน ณ โรงเรียน ต.ช.ด.สิงคโปร์แอร์ไลน์สเฉลิมพระเกียรติฯ จังหวัดจันทบุรี ล่าสุด ในงานวัน สหกรณ์สากล ครั้งที่ 88 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2553 ที่ผ่านมา กรมตรวจบัญชี สหกรณ์ ได้ลงนามความร่วมมือด้านการให้บริการและบริหารจัดการร้านค้า ขนาดย่อยในสถานีบริการน้ำมันของสหกรณ์ ร่วมกับสันนิบาตสหกรณ์แห่ง ประเทศไทย บริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) และเครือข่ายชุมนุม สหกรณ์ระดับประเทศ 5 แห่ง โดยวางเป้าหมาย ขยาย Coop Shop ในสหกรณ์ ที่มีธุรกิจปั๊มน้ำมันทั่วประเทศ กว่า 600 แห่ง
สำหรับในส่วนของสหกรณ์นำร่องที่มีธุรกิจปั๊มน้ำมันที่มาร่วมงานสหกรณ์ สากลในครั้งนี้ นับว่าเป็นจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ในการลงทุนที่จะได้เริ่มพัฒนา หรือริเริ่มการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจสหกรณ์ของตน จากคำบอกเล่าที่ สะท้อนต่อแนวคิด Coop Shop ของผู้แทนสหกรณ์ที่มาร่วมงาน อาทิ
นายสุทธิ เพ็งจันทร์ ประธานคณะกรรมการสหกรณ์การเกษตร บ้านเชี่ยวหลาน จำกัด จ.สุราษฎร์ธานี กล่าวว่า การจัดตั้ง Coop Shop นับว่าเป็นสีสันอย่างหนึ่งของภาคสหกรณ์ไทย ที่น่าจะสามารถแข่งขันกับ ภาคเอกชนได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ ได้มองการณ์ไกลในเรื่องของสินค้าที่ วางแผนจะนำไปลงในร้านสหกรณ์ขนาดย่อยว่า คงจะเป็นสินค้าในชุมชน ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่สมาชิกภาคสหกรณ์
|
ผมว่าน่าจะมีสีสันขึ้นเยอะเลยครับ เพราะว่า ในกลุ่มเชี่ยวหลาน มีอยู่ 5 หมู่บ้าน ที่ใช้บริการ ปั๊มน้ำมันอยู่ทั้งหมด ก็คิดว่าแข่งกับธุรกิจของ เอกชน น่าจะสูสี พออยู่ได้ สำหรับสินค้าที่จะ นำมาวาง ส่วนหนึ่งก็คงจะเป็นของสมาชิกกลุ่ม แม่บ้านของในชุมชน ก็จะมีอยู่ 2-3 กลุ่ม ก็จะ มีพวกดอกไม้ประดิษฐ์บ้าง พวกศูนย์ศิลปาชีพ ก็มีพวกผ้าทอ พวกผ้าไหมที่ทำกันอยู่ตอนนี้ แล้วก็พวกอาหาร ขนมก็ยังมีอยู่ ส่วนปุ๋ยก็เป็น ธุรกิจหลักอย่างหนึ่งของสหกรณ์ที่ทำอยู่ตอนนี้ แต่ถ้า Coop Shop เปิด ก็ยังไม่แน่นะครับ ก็ พยายามจัดให้เป็นสัดเป็นส่วน ก็จะวางปุ๋ยด้วย แล้วก็จะมีโครงการขยาย อย่างเช่น สร้างโรง ซ่อมมอเตอร์ไซต์ ซื้ออุปกรณ์ให้เขาเช่า อยู่ใน บริเวณปั๊ม คล้ายๆ กับปั๊มใหญ่ๆ ที่วางแผนกันไว้อยู่ | ในขณะที่ นายเสถียร เตยจังหรีด ผู้ตรวจสอบกิจการของสหกรณ์โคนม ในเขตปฏิรูปที่ดินลำพญากลาง จำกัด จ.สระบุรี ได้แสดงความคิดเห็นว่า เป็น เรื่องที่ดีที่มีการจัดตั้ง Coop Shop ซึ่งถ้าในอนาคต สหกรณ์มีการสร้างแบรนด์ สินค้าเป็นของตนเองจะได้อาศัย Coop Shop เป็นตัวเพิ่มตลาดในอนาคตได้ แต่ก็มีความเป็นห่วงว่า ด้วยสหกรณ์ที่อยู่ในชนบท อาจจะลำบากที่จะดึงดูด นักท่องเที่ยวให้เข้าไปซื้อสินค้า แต่ด้วยเอกลักษณ์ของ Coop Shop ก็น่าจะ สร้างความสนใจให้กับลูกค้าทั่วไปได้ไม่ยาก
ทางสหกรณ์ก็คิดว่า ถ้าทำตรงนี้ ก็เผื่อไว้ว่า ถ้าสหกรณ์มีแบรนด์ของตัวเอง ก็จะสร้างโรงงาน แปรรูปน้ำนมดิบอยู่แล้ว จะได้อาศัยตรงนี้ เป็น ตัวเพิ่มตลาดในอนาคตด้วยถ้าเป็นไปได้ ...สิ่งหนึ่งที่เป็นห่วง คือ เรื่องของสินค้าในแต่ ละที่ ส่วนมากสหกรณ์จะอยู่ในชนบท อยู่ในที่ ห่างไกล คือ รวบรวมผลผลิตอย่างแท้จริง การ ไปมา หรือ พวกนักท่องเที่ยวจะไม่เน้นเข้าไปใน สหกรณ์ เพราะไม่ใช่สิ่งดึงดูดใจ แต่จากการดูรูป แบบโบว์ชัวที่ให้นะ มันก็ค่อนข้างจะเป็นสากล และอาจจะเป็นจุดเด่น เพราะสหกรณ์ของใครก็ แล้วแต่ละที่ เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แต่ถ้า ในลักษณะนี้ก็น่าจะเป็นจุดสื่อถึงลูกค้าได้ว่า ลักษณะนี้ของ Coop Shop นะ อาจจะคล้ายๆ กับที่เขาตั้ง คล้ายๆ เซเว่นนะ จะทำให้คนที่ ตั้งใจไปซื้อ ซื้อของได้ตรงที่มากขึ้น และ สามารถขายของให้นักท่องเที่ยวได้มากขึ้น |
| อย่างไรก็ตาม แนวคิดการจัดทำ coop shop ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ของการพัฒนาธุรกิจสหกรณ์เชิงสร้างสรรค์และแบ่งปัน และเชื่อแน่ว่า ด้วย กระบวนการสหกรณ์ที่พร้อมจะเดินหน้า ผลักดัน และสร้างตลาดการค้าใหม่ แก่สหกรณ์ จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจสหกรณ์ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุด หากสหกรณ์มีความมุ่งมั่น พร้อมที่จะพัฒนาตนเองและเสริม สร้างประโยชน์แก่มวลสมาชิกอย่างแท้จริงแล้ว ช่องทางธุรกิจร้านค้าสหกรณ์ ขนาดย่อย จะเป็นตลาดที่ใหญ่ยิ่งสำหรับครัวเรือนชาวบ้าน ให้สามารถกระจาย สินค้าออกไปสู่ภายนอกได้ รวมทั้งการนำเข้าสินค้าของสหกรณ์ด้วยกันเองมา จัดจำหน่าย จะเป็นการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจภาคสหกรณ์ เพื่อดึงผู้บริโภค เข้าหาสินค้าที่มีคุณภาพ ราคาเหมาะสมจากภาคสหกรณ์อีกด้วย
|
|
|
|