กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ร่วมกับ ม.หอการค้าไทย ประเมินผลกระทบการจัดการธุรกิจการเงินสหกรณ์ภาคเกษตรไทยช่วงวิกฤติที่ผ่านมา
เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2553 กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ โดย นายอนันต์ ภู่สิทธิกุล อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ และ ผศ.ดร.ธนาวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมกันแถลงข่าว ประเมินผลกระทบการจัดการ ธุรกิจการเงินสหกรณ์ภาคเกษตรไทยช่วงวิกฤติที่ผ่านมา ที่ส่งผลต่อความมั่นคง และเส้นทางสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจและสังคมของสหกรณ์ภาค การเกษตรไทย พร้อมเปิดเผยผลสำรวจทัศนะของสมาชิกสหกรณ์ที่มีต่อ สถานการณ์ในปัจจุบัน ณ ห้อง 1201 สภาหอการค้าไทย ถนนราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
นายอนันต์ ภู่สิทธิกุล อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการประเมินผลกระทบจากภาวะวิกฤติในช่วงที่ผ่านมา ต่อความมั่นคง ทางการเงินของสหกรณ์ภาคการเกษตรของไทย พบว่า ภาพรวมสหกรณ์ ภาคการเกษตรในรอบ 3 ปี ตั้งแต่ปี 2551-2553 จำแนกตามพื้นที่ทั่วประเทศ ปัจจุบันมีจำนวน 4,446 แห่ง สมาชิก 6.4 ล้านคน ทุนดำเนินงาน 1.3 แสน ล้านบาท ลงทุนใน 5 ธุรกิจหลัก คือ การรับฝากเงิน การให้สินเชื่อ การจัดหาสินค้ามาจำหน่าย การรวบรวม/แปรรูป และการให้บริการอื่น ๆ มีมูลค่า 2.2 แสนล้านบาท เทียบกับปี 2551 เพิ่มขึ้นจำนวน 50,569 ล้านบาท หรือร้อยละ 29.48
เมื่อวิเคราะห์ถึงผลการดำเนินงานสหกรณ์ภาคการเกษตร เฉพาะรอบปีบัญชี มีนาคม จำนวน 1,913 แห่ง ในปี 2551-2553 มีทุนดำเนินงานเพิ่มขึ้นจากปี 2551 จำนวน 18,031 ล้านบาท หรือร้อยละ 26.07 มีวงเงินธุรกิจเพิ่มขึ้น จำนวน 35,331 ล้าน หรือร้อยละ 31.88 จากอัตราชี้วัดเพื่อเตือนภัยทางการเงิน (Cooperative Financial Surveillance and Warning System หรือ CFSAWS:ss) ชี้ได้เห็นว่า สหกรณ์เริ่มให้ความสำคัญในการบริหารค่าใช้จ่าย ดำเนินงาน และการสำรองเงินทุน ทำให้มีอัตราส่วนที่ดีขึ้น เมื่อมองผลกระทบ จากภาวะวิกฤติที่ผ่านมาต่อความมั่นคงทางการเงินในภาพรวม มีระดับการ เฝ้าระวังปกติลดลง 49 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 13.07 ในทางตรงข้าม ระดับการ เฝ้าระวังพิเศษเร่งด่วนเพิ่มขึ้น 50 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 20.75 ประกอบกับ เมื่อมองถึงเสถียรภาพทางการเงิน สหกรณ์มีระดับเสถียรภาพทางการเงิน ตามมาตรฐาน ลดลง 147 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 10.25 ดังนั้น อาจทำให้ สหกรณ์บางแห่งได้รับผลกระทบจากเสถียรภาพทางการเงินดังกล่าว
ด้าน ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์ เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้เปิดเผยว่า ภาคการเกษตรของไทยในช่วงวิกฤติที่ผ่านยังมีความเข้มแข็ง แต่ก็มี ความเปราะบางอยู่พอสมควร ซึ่งรัฐบาลจะต้องเข้าไปดูแลและถ้าสามารถ ใช้กลไกในการยกระดับรายได้ให้กับเกษตรกรผ่านสหกรณ์หรือสถาบัน การเงินของรัฐ เชื่อมั่นว่าจะสามารถลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความ เสมอภาคทางสังคมได้เป็นอย่างมาก ซึ่งจะสอดรับในการสนับสนุน แผนปรองดองแห่งชาติ และเสถียรภาพทางการเมืองของรัฐบาล |