กตส.ร่วมจัดนิทรรศการด้านบัญชีในงานวันข้าวและชาวนา
แห่งชาติ ประจำปี 2567
 
         เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2567 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็น
องค์ประธานเปิดงาน "วันข้าวและชาวนาแห่งชาติ ประจำปี 2567” ภายใต้
ธีมงาน "พระบารมีเกริกก้องหล้า สู่ผืนนาข้าวไทย ผสานเกษตรแนวใหม่
ชาวนาไทยยั่งยืน” จัดโดยกรมการข้าวระหว่างวันที่ 4 – 6 มิถุนายน 2567
เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ
พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี
พันปีหลวง พร้อมทั้งเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จ
พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ในหลวงรัชกาลที่ 9)
และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อกิจการด้านข้าว และชาวนาของไทย
โดยมี ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พร้อมด้วยนายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์ นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นางรพีพร
กลั่นเนียม รองอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมพัฒนา
การบัญชีและถ่ายทอดเทคโนโลยี ผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง คณะผู้บริหาร
หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เฝ้าฯ รับเสด็จ ณ Hall 5-6 อิมแพ็ค
เมืองทองธานี
          กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เข้าร่วมจัดนิทรรศการในหัวข้อ "ทำบัญชี
มีเงินออม น้อมสานต่อความพอเพียง สู่ผืนนาข้าว และชาวนาไทย” โดยนำ
เสนอเนื้อหาเกี่ยวกับโครงการเสริมสร้างวินัยทางการเงินภาคครัวเรือน
ขับเคลื่อนชุมชนเข้มแข็งเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28
กรกฎาคม 2567 และบัญชีต้นทุนอาชีพการทำนา โดยรองอธิบดีกรมตรวจ
บัญชีสหกรณ์ ได้รายงานตัวอย่างชาวนาที่ประสบความสำเร็จจากการนำ
บัญชีไปใช้วิเคราะห์ วางแผนในการทำนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถ
ลดต้นทุนได้
         ในโอกาสนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
ทรงมีพระราชดำรัสสอบถาม "ข้อมูลนี้รายกลุ่มหรือรายคน?” "ทำปุ๋ยเองหรือเปล่า?”
และทรงมีพระราชดำรัส ว่า "ทำปุ๋ยหมักก็จะประหยัดต้นทุน” "ในตอนเก็บเกี่ยว
ถ้าเผลอมีสิ่งปนเปื้อนก็จะตายตอนจบ”
          ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติให้วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปีเป็น "วันข้าวและ
าวนาแห่งชาติ” เพื่อให้ ตระหนักถึงความสําคัญของข้าวที่เป็นอาหารหลักหล่อเลี้ยงคน
ทั่วโลก ก่อให้เกิดวัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่เกี่ยวกับข้าวและชาวนา
นอกจากนี้ เป็นการเชิดชูเกียรติและสร้างขวัญกําลังใจให้แก่ชาวนาไทย ซึ่งเปรียบเสมือน
กระดูกสันหลังของชาติในฐานะผู้ผลิตอาหารหลักให้กับประชาชนตลอดมา