กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ร่วมขับเคลื่อน BCG Model
       หนุนเกษตรกรใช้บัญชีเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
                   สร้างความเข้มแข็งให้ภาคการเกษตร
 
       นายโอภาส ทองยงค์ อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กล่าวว่า กรมตรวจ
บัญชีสหกรณ์ ได้ร่วมเป็นหน่วยงานในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ
เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio–Circular-Green Economy :
BCG Model) โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ตามยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี
(พ.ศ. 2561-2580) ของรัฐบาลในการสนับสนุนให้เกิดเศรษฐกิจ BCG ที่เติบโต
สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก เกิดการกระจายรายได้ลงสู่ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำ
ชุมชนเข้มแข็ง มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีกระทรวง
เกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อน BCG Model ด้านการเกษตร
มีเป้าหมายเพื่อปรับเปลี่ยนระบบการเกษตรของประเทศไทยสู่ 3 สูง คือ "ประสิทธิภาพสูง
มาตรฐานสูง รายได้สูง” ด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมผสานภูมิปัญญา ยกระดับ
ผลผลิตเกษตรสู่มาตรฐานสูง ครอบคลุมทั้งด้านคุณภาพ โภชนาการ ความปลอดภัย และ
ระบบการผลิตที่ยั่งยืน ให้การทำเกษตรเป็นอาชีพที่สร้างรายได้สูง มีการผลิตสินค้าเกษตร
พรีเมียม สินค้าเชิงนวัตกรรมที่หลากหลาย กำหนดราคาขายได้ตามคุณภาพของผลผลิต
เกษตร เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) ภาค
เกษตรเติบโตอย่างสมดุลและมีเสถียรภาพ รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้น รวมถึงอนุรักษ์ฟื้นฟู
และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรการเกษตรอย่างสมดุลและยั่งยืน ซึ่งกรมตรวจบัญชี
สหกรณ์ มีส่วนร่วมบูรณาการดำเนินงานเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพการจัดทำ
บัญชีแก่เกษตรกร ตามนโยบายของนางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วย
ว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการนำระบบบัญชีไปวางรากฐานให้แก่เกษตรกร
และสถาบันเกษตรกร ได้มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการวางแผนประกอบอาชีพหรือ
ปรับเปลี่ยนอาชีพได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยใช้บัญชีเป็นเครื่องมือวางแผน
การตลาด วางแผนการผลิตสินค้าปลอดภัยและปรับเปลี่ยนการผลิตสินค้าให้เหมาะสมกับ
พื้นที่ เพื่อสร้างมูลค่าให้สินค้าตนเองและสามารถเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร
        อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กล่าวอีกว่า กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ได้ร่วมขับเคลื่อน
การดำเนินงาน BCG Model ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยดำเนินงานเสริมสร้างและ
พัฒนาศักยภาพด้านการเงินการบัญชีแก่เกษตรกร ผ่านกระบวนการเรียนรู้การจัดทำบัญชีรับ
- จ่าย ในครัวเรือน และบัญชีต้นทุนอาชีพ เพื่อให้สามารถนำข้อมูลทางบัญชีไปใช้ในการ
บริหารจัดการภาคการเกษตรได้ รู้รายรับ รายจ่าย สามารถวางแผนการผลิตและการตลาดให้
ตรงตามช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยซักซ้อมแนวทางการปฏิบัติงานแก่อาสาสมัครเกษตรด้าน
บัญชี เพื่อสร้างให้เป็นแกนนำการถ่ายทอดองค์ความรู้และส่งเสริมการจัดทำบัญชี ทั้งบัญชี
ครัวเรือน และบัญชีต้นทุนอาชีพ ไปในทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถต่อยอดไปถึงบัญชีรายสินค้า
ส่งผลให้เกิดความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ พร้อมทั้งอบรมสอนแนะการจัดทำบัญชีให้
เกษตรกรได้มีความรู้และความเข้าใจในการจัดทำบัญชี โดยดำเนินการใน 4 โครงการ ได้แก่
โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน (พัฒนาเกษตรอินทรีย์) อบรมเกษตรกร จำนวน 1,010 ราย
โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ อบรมเกษตรกร จำนวน 9,509 ราย โครงการ
ส่งเสริมอาสาสมัครเกษตร อบรมเกษตรกร จำนวน 800 ราย และโครงการบริหารจัดการการผลิต
สินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) อบรมเกษตรกร จำนวน
822 ราย เป้าหมายรวมทั้งสิ้น จำนวน 19,130 ราย ข้อมูล ณ วันที่ 31 มกราคม 2565
ได้ผลงานแล้ว จำนวน 12,141 ราย
           อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กล่าวอีกว่า การบูรณาการขับเคลื่อนตามแนวทางดังกล่าว
เป็นปัจจัยที่จะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ภาคการเกษตรพัฒนาสู่ความยั่งยืน โดยกรมตรวจบัญชี
สหกรณ์ มีความพร้อมในการสนับสนุนการนำคุณประโยชน์จากการทำบัญชีสู่การสร้างภูมิปัญญาแก่
เกษตรกร ผ่านการเป็นพี่เลี้ยงคอยดูแลสอนแนะการทำบัญชีให้เกษตรกร ได้มีความรู้และเข้าใจใน
การนำระบบบัญชีไปใช้ในการบริหารจัดการภาคการเกษตร รู้รายรับ รู้รายจ่าย รู้เวลาที่เหมาะสม
มองเห็นช่องทางในการลดต้นทุนการผลิต ลดรายจ่าย ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและผลิตสินค้า
ได้อย่างสมดุลตามกำลังของตนเองและสอดคล้องกับความต้องการของตลาด อีกทั้งช่วยส่งเสริม
การออม และสร้างวินัยทางการเงินที่ดี อันเป็นการช่วยให้เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่มั่นคง สามารถ
พึ่งพาตนเองได้ ต่อยอดไปถึงการทำบัญชีธุรกิจไปยังระดับกลุ่มสหกรณ์และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนให้
กว้างขวางขึ้น เนื่องจากการทำบัญชีธุรกิจจะเป็นกระจกในการสะท้อนข้อมูลด้านสภาพแวดล้อม ต้นทุน
ตลาด ราคาผลผลิต ไปจนถึงมูลค่าสินค้าที่แปรผันในแต่ละห้วงเวลา นอกจากนี้ ยังได้สร้างเสริมองค์
ความรู้ทางบัญชีสู่เยาวชนและประชาชนทั่วไป ให้ได้เรียนรู้การจัดทำบัญชี เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการ
ประเมินและวางแผนการจัดระเบียบรายรับ - รายจ่าย สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างเป็นรูปธรรม
โดยมีบัญชีเป็นภูมิคุ้มกันและคู่มือชีวิต ซึ่งเหมาะกับสถานการณ์เศรษฐกิจในยุคปัจจุบันที่จำเป็นต้อง
ใช้จ่ายอย่างมีสติ ไม่ประมาท พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา