กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ มุ่งสร้างกระบวนการจัดทำบัญชีคุณภาพ
เร่งพัฒนามาตรฐานการดำเนินงานสู่ยุค Next Normal
นายโอภาส ทองยงค์ อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กล่าวว่า ในสภาวการณ์
ปัจจุบันที่สังคมโลกได้เปลี่ยนแปลงเข้าสู่การดำเนินชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ภาคธุรกิจ
รวมไปถึงสหกรณ์และสถาบันเกษตรกร จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจ การตลาด
ให้พร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงวิถีใหม่และก้าวไปสู่การดำเนินชีวิตในวิถีปกติถัดไป
ที่เรียกว่า Next Normal สหกรณ์และสถาบันเกษตรกรหลายแห่ง มีการปรับรูปแบบการ
ดำเนินธุรกิจโดยนำเทคโนโลยีและระบบข้อมูลสารสนเทศมาใช้ เพื่อช่วยอำนวยความ
สะดวกในการดำเนินงานต่าง ๆ มากขึ้นผ่านระบบออนไลน์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตระหนักถึงตัวแปรความเสี่ยงและความท้าทายใหม่ ๆ
ที่เกิดขึ้น จึงได้เร่งปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงาน เพื่อช่วยสนับสนุนการดำเนินงาน
ของสหกรณ์และสถาบันเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง ตามยุทธศาสตร์การดำเนินงานของ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และนโยบายของนางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรี
ช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่เน้นย้ำให้กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ สร้าง
ความเข้มแข็งด้านการเงินการบัญชีให้กับสหกรณ์และสถาบันเกษตรกร พร้อมดูแลผล
ประโยชน์ของมวลสมาชิก ให้พึงได้อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญ
ของความมั่นคงในระบบสหกรณ์และคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและประชาชน
ทั้งนี้ การดำเนินงานของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ในยุค Next Normal ได้วาง
แนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อช่วยในการตรวจสอบบัญชี อาทิ
- การตรวจสอบบัญชีระยะไกล (Remote Audit) ซึ่งผู้สอบบัญชีสามารถ
ปฏิบัติงานสอบบัญชี ทบทวนและตรวจสอบเอกสาร/รายงาน/บันทึกต่าง ๆ ได้ผ่านช่องทาง
เทคโนโลยี Live Streaming บนเว็บไซต์ เช่น Zoom, WebEX, MS Teams และ E-mail
เป็นต้น และเทคโนโลยีในโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต ที่สามารถใช้งานวีดีโอ
ได้ เช่น Line, Zoom, WebEX เป็นต้น ซึ่งเปรียบเสมือนการลงพื้นที่จริง ช่วยเว้นระยะห่าง
ทางสังคมและประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปตรวจสอบ ณ ที่ทำการสหกรณ์ได้ โดย
ผู้สอบบัญชียังคงต้องควบคุมคุณภาพงานสอบบัญชี ตามมาตรฐานการสอบบัญชีและตาม
ระเบียบที่กรมตรวจบัญชีสหกรณ์กำหนด
- การพัฒนาแอปพลิเคชัน "SmartAuditor ซึ่งเป็นเครื่องมือช่วยอำนวยความ
สะดวกในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาสถาบันเกษตรกรและการ
ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการจัดทำบัญชีแก่เกษตรกร รวมไปถึงกฎหมายด้านการตรวจ
สอบบัญชีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถใช้เป็นช่องทาง
ในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและเพิ่มประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานภายในและ
หน่วยงานภายนอก
- การส่งเสริมการเพิ่มศักยภาพสหกรณ์ที่ใช้งานโปรแกรมระบบบัญชีสหกรณ์
ครบวงจร (FAS) เพื่อเพิ่มศักยภาพเจ้าหน้าที่สหกรณ์ให้สามารถใช้งานโปรแกรม ให้บริการ
สมาชิก รวมถึงการเสริมสร้างการควบคุมภายในที่ดี ด้วยโปรแกรมระบบบัญชีสหกรณ์ครบวงจร
(FAS) ครบทุกระบบตามส่วนธุรกิจของสหกรณ์ (Full Pack) คณะกรรมการสหกรณ์ สามารถใช้
ข้อมูลในการบริหารจัดการสหกรณ์ และสมาชิกสามารถตรวจสอบข้อมูลการทำธุรกรรมตนเอง
กับสหกรณ์ ได้จากระบบ Smart4M
- การพัฒนาสมรรถนะผู้สอบบัญชีด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Cyber Auditor)
โดยพัฒนาผู้สอบบัญชีสหกรณ์ให้มีสมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในระดับสูง
และพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีความรู้ ทักษะด้านบัญชีและการสอบบัญชี
เพื่อช่วยให้การปฏิบัติงานสอบบัญชีที่มีความซับซ้อนและปริมาณมากเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กล่าวอีกว่า กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ มีบทบาทหน้าที่
สำคัญในการตรวจสอบระบบการเงิน การบัญชี การควบคุมภายในและการดำเนินงานของสหกรณ์
และสถาบันเกษตรกร โดยชี้แนะแนวทางการแก้ไขปัญหา ข้อบกพร่องต่าง ๆ ให้สหกรณ์ได้นำไป
ปรับปรุงแก้ไขก่อนที่จะเกิดความเสียหายทางการเงินในอนาคต ซึ่งในขณะนี้จำนวนของสหกรณ์
ประเภทการเงิน ไม่ว่าจะเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน มีทุนการดำเนินงานที่สูง
มากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่อง ทั้งทุนดำเนินงาน และจำนวนสมาชิก ซึ่งอาจนำมา
ซึ่งความเสี่ยงจากปัจจัยต่าง ๆ ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน
มีการเปลี่ยนวิธีการทำบัญชีของกลุ่มลูกค้าทั้งสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร ซึ่งนำระบบไอทีเข้ามาใช้
มากขึ้นและมีความหลากหลายของระบบที่นำมาใช้ จึงนับเป็นที่เรื่องที่ท้าทายความสามารถของ
ผู้สอบบัญชี ซึ่งต้องมีระบบการตรวจสอบที่ดี มีความถูกต้อง แม่นยำและเป็นธรรม มีความรู้
ความชำนาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความรู้เท่าทันการใช้งานทุกโปรแกรมที่สหกรณ์และ
กลุ่มเกษตรกรใช้ เพื่อให้สมาชิกมีความมั่นใจได้ว่าจะได้รับการดูแลที่ดีจากผู้ที่มีความรู้โดยตรง
การพัฒนาในส่วนนี้ ต้องอาศัยความมุ่งมั่นในการฝึกฝน เรียนรู้ ฝึกปฏิบัติอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ
จะทำให้มีความมั่นใจ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติของระบบบัญชีและงบการเงินที่เป็นหน้าที่
ความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี ซึ่งนอกเหนือจากทำหน้าที่สอบบัญชีแล้ว ได้เน้นย้ำให้ผู้สอบบัญชี
ควรจะต้องเป็นที่ปรึกษาที่ดีในด้านการเงินการบัญชี ให้คำปรึกษาที่เหมาะสมกับพื้นฐานของสหกรณ์
ได้อย่างใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด มีข้อมูลที่ดี รู้จักการเปลี่ยนแปลงรู้จักตลาด และความต้องการ
ของผู้บริโภคด้วย
ในส่วนของงานสอนบัญชีให้แก่เกษตรกร เยาวชน และประชาชนทั่วไป รวมทั้งการสร้าง
เครือข่ายอาสาสมัครเกษตรด้านบัญชี เพื่อให้เกิดการยกระดับการพัฒนาในทุกระดับ กรมตรวจบัญชี
สหกรณ์ ยังคงดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างความรู้ ให้แง่คิดที่เป็นประโยชน์กับผู้ที่ได้รับ
สามารถนำองค์ความรู้ด้านบัญชีมาใช้วางแผนการประกอบอาชีพ วางแผนกิจกรรมทางการเกษตร
รู้รายรับ รายจ่าย รู้เวลาที่เหมาะสม รู้จักความพอมี พอกิน พอใช้ เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันที่เข้มแข็งแก่
ตนเองและครอบครัว ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยปลูกฝังอุปนิสัย ความคิดในการ
ใช้จ่าย การลงทุนอย่างมีเหตุมีผลและเหมาะสม มีวินัยในตนเอง ซึ่งนับเป็นความสำเร็จที่แท้จริงของ
การทำบัญชี
"การปรับตัวเข้าสู่ชีวิตวิถีถัดไป กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ในฐานะหน่วยงานที่เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง
การดูแลผลประโยชน์ของเหล่าสมาชิกสหกรณ์และสถาบันเกษตรกรทั้งมวล ได้มีการเตรียมความ
พร้อมในทุก ๆ ด้าน เพื่อให้การสนับสนุนการดำเนินงานของสหกรณ์และสถาบันเกษตรกร พร้อมเป็น
พี่เลี้ยง เป็นที่ปรึกษาที่ดี ในการสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นในระบบสหกรณ์และคุณภาพชีวิตของ
เกษตรกรและประชาชนได้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กล่าว