ร้อยละ 41.9ซึ่งสูงกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของแหล่งเงินทุนภายใน และเมื่อพิจารณาหนี้สินรวม
ของสหกรณ์บริการพบว่าในระหว่างปี 2549 2553 หนี้สินรวมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ร้อยละ 48.3
โดยส่วนใหญ่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของหนี้สินหมุนเวียนคิดเป็นร้อยละ 51.5 เมื่อพิจารณาใน
รายละเอียดพบว่าเกิดจากการเพิ่มขึ้นของเงินรับฝากจากสมาชิกและสหกรณ์อื่นๆ คิดเป็น
ร้อยละ30.6 อย่างไรก็ตามพบว่ากำไรสุทธิโดยเฉลี่ยของสหกรณ์บริการเท่ากับ 126.8 ล้านบาท
ต่อปี หรือ 0.2 ล้านบาท ต่อแห่ง เมื่อคิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นของกำไรสุทธิโดยเฉลี่ย 5 ปี
เท่ากับร้อยละ 54 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโดยส่วนใหญ่แล้วสหกรณ์บริการมีความสามารถในการ
สร้างรายได้และบริหารต้นทุนได้ค่อนข้างดีโดยพิจารณาจากอัตราการเพิ่มของต้นทุนเฉลี่ย
เท่ากับร้อยละ 3.5 ซึ่งน้อยกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของกำไรสุทธิเฉลี่ยมาก อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กล่าวอีกว่า จากข้อมูลข้างต้นมีสิ่งที่น่าสนใจบางประการ
คือ สินทรัพย์หมุนเวียนเฉลี่ย 4.4 ล้านบาท มีจำนวนใกล้เคียงกับหนี้สินหมุนเวียนเฉลี่ย
4.3 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่ารายได้ที่เข้ามาส่วนใหญ่จะถูกนำไปชำระหนี้ระยะสั้น เมื่อพิจารณา
อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนของสหกรณ์บริการพบว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี ตั้งแต่ปี 2549 2553
เท่ากับ 1.8 แสดงว่าหนี้สินรวมคิดเป็น 1.8 เท่าของทุนรวม และจากอัตราลูกหนี้ระยะสั้นที่ชำระ
ได้ตามกำหนดมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 77.21 เมื่อเทียบเคียงกับมาตรฐานทางการเงินของสหกรณ์
แล้วพบว่าอยู่ในระดับพอใช้เท่านั้น สหกรณ์บริการจะต้องพิจารณาถึงความสามารถในการชำระหนี้ของสหกรณ์เองเป็นหลัก
เพื่อให้สหกรณ์มีสภาพคล่องทางการเงินอยู่ในระดับที่ปลอดภัย นอกจากนี้สหกรณ์บริการควร
จะลดการพึ่งพาแหล่งเงินทุนจากภายนอกลง และหันมาพึ่งแหล่งเงินทุนจากภายในให้มากขึ้น
เพื่อเพิ่มความมั่นคงทางการเงินและลดความเสี่ยงในการดำเนินกิจการ ขณะเดียวกันกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ก็ได้เร่งผลักดันให้สหกรณ์นำโปรแกรมระบบบัญชีไปช่วยในการบริหารงานโดย
ไม่คิดมูลค่า ซึ่งโปรแกรมดังกล่าวจะช่วยสร้างระบบงานที่ได้มาตรฐานตามหลักสากลให้กับสหกรณ์ ส่งผลให้ข้อมูลมีความโปร่งใส ถูกต้อง และทันต่อเหตุการณ์ผู้บริหารสามารถนำไป
ใช้ประกอบการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับองค์กรยิ่งขึ้น นายสิงห์ทอง กล่าว |