เดิมนั้นครูอุบลยึดอาชีพทำนาเป็นหลัก และรับจ้างก่อสร้างเป็นอาชีพเสริม ชีวิตมีแต่
หนี้สิน แต่หลังจากได้เข้ารับการอบรมการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายในครัวเรือน และบัญชี
ต้นทุนอาชีพจากกรมตรวจบัญชีสหกรณ์แล้ว ก็ได้จดบันทึกรายรับ รายจ่ายทุกวัน และนำ
ตัวเลขมาวิเคราะห์จึงเกิดแนวคิดปรับเปลี่ยนเส้นทางอาชีพ หันมาทำการเกษตรแบบทฤษฎี
ใหม่ โดยน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิต พออยู่ พอกิน จนถึงทุกวันนี้
...การสอนชาวบ้านทำบัญชีนั้น เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลยค่ะ...
ครูอุบลเล่าว่า แรกๆ ชาวบ้านเห็นตัวเลขจากการลงบัญชีแล้วไม่อยากทำต่อ ซึ่งครูก็ได้
อธิบายไปว่า ตัวเลขจากบัญชีนั้นมองได้หลายแบบ จะมองให้รู้สึกผิดหวังตามที่เราจด หรือ
หากจะมองให้สมหวังมันก็พลิกได้
พอเรารู้จักจด รู้จักทำ ก็จะนำไปสู่การแก้ไข บัญชีช่วยวิเคราะห์ตั้งแต่อาชีพของตัวเอง
ถ้ารู้จักวิเคราะห์ก็สามารถหาทางแก้ไข รู้จักวางแผน นำข้อมูลมาเปรียบเทียบกัน ตรงนี้แหล่ะ
บัญชีช่วยได้ในเรื่องของการวางแผนชีวิต ว่าเราจะทำอาชีพอะไรที่เหมาะสมกับตัวเอง
สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ครูอุบลประสบความสำเร็จในการเป็นผู้นำบัญชีให้แก่ชุมชน คือ
การที่ครูอุบลใช้ประสบการณ์ตนเองสอนชาวบ้านในชุมชน หากใครไม่ทำตาม ก็ไม่บังคับ
แต่จะใช้วิธีแสดงให้เห็นว่า ทำบัญชีแล้วดีอย่างไร โดยใช้ตนเองเป็นหุ่นสาธิตค่ะ
ครูต้องเป็นต้นแบบที่ดีให้กับคนที่เราไปสอน สิ่งสำคัญสอนไปแล้วจะต้องติดตามและ
ประเมินผลการสอน โดยเฉพาะเกษตรกร ถ้าไม่ติดตาม สอนไปเท่าไหร่มันก็ไม่สำเร็จ
ครูอุบลทิ้งท้ายไว้ว่า เห็นชาวบ้านในชุมชนทำบัญชี ก็หายเหนื่อยและพร้อมที่จะสอน
คนที่ยังไม่ได้ทำบัญชีต่อไปอย่างไม่ย่อท้อ ตราบเท่าที่ยังมีลมหายใจ...
|