สดใส ในปี 2553 เกิดวิกฤตเศรษฐกิจค่าเงินบาทแข็งค่า ราคาน้ำมันปรับสูงขึ้น ตลอดจน
ภัยธรรมชาติ ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยปรับตัวลงตามไปด้วย ประกอบกับเศรษฐกิจ
ในประเทศขยายตัวในระดับต่ำ ทั้งการบริโภค การลงทุน และกำลังซื้อของภาคธุรกิจลดลง
ย่อมมีผลกระทบต่อขบวนการสหกรณ์อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ อย่างไรก็ตามรอบปี 2553 สำหรับพืชเศรษฐกิจของภาคสหกรณ์ไทยยังคงมีแนวโน้มที่สดใส โดยเฉพาะข้าวเปลือก
ถือเป็นสินค้าจำเป็นและตลาดมีความต้องการสูง ส่งผลให้แนวโน้มในปี 2554 คาดว่าจะเพิ่มขึ้น
อีกร้อยละ 42.76
นายสิงห์ทอง กล่าวอีกว่า ในส่วนของภาคสหกรณ์ปีที่ผ่านมา สามารถรวบรวมผลผลิตข้าว
เปลือกสมาชิกเกษตรกรทั่วทุกภาคของประเทศจากพื้นที่ 59 จังหวัด ผ่านเครือข่ายสหกรณ์
และกลุ่มเกษตรกร 465 แห่ง รวมทั้งสิ้น 1.99 ล้านตัน (ข้าวเปลือกเจ้ามากสุดร้อยละ 80.67)
คิดเป็นร้อยละ 6.20 ของผลผลิตข้าวเปลือกรวมทั้งประเทศ (32.69 ล้านตัน) มีมูลค่าทั้งสิ้น
1.8 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 24.75 โดยผลผลิตข้าวส่วนใหญ่ร้อยละ 41.15
และร้อยละ 40.97 อยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ (จังหวัดกำแพงเพชร
มากที่สุด) รอบ 3 ปี (พ.ศ. 2551-2553) มูลค่าการรวบรวมผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นทุกปีจาก
7.6 พันล้านบาท ในปี 2551 เป็น 1.8 หมื่นล้านบาท ในปี 2553 และคาดว่าในปี 2554 จะขยาย
เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.76
อย่างไรก็ตามปัจจัยที่มีกระทบต่อการผลิตและการส่งออกข้าว ในปี 2554 ต้องระมัดระวัง
เรื่องของภัยธรรมชาติเป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากที่ผ่านมาเกิดภาวะหนาวจัดและฝนตกผิดฤดู
ดังนั้น กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ จึงอยากให้เกษตรกรเฝ้าระวังในเรื่องดังกล่าว โดยในส่วนของ
ภาคสหกรณ์และสมาชิกเกษตรกร โดยเฉพาะสมาชิกเกษตรกรต้องให้ความสำคัญต่อการทำ
บัญชีต้นทุน รายรับ-จ่าย บัญชีครัวเรือน เพื่อเป็นการป้องกันตนเองเรื่องของการลงทุน ส่วนภาค
สหกรณ์ต้องเฝ้าระวังระบบเตือนภัยทางการเงิน หรือ CFSAWS : ss โดยเฉพาะเรื่องการบริหาร
งานและบริหารเงินขององค์กร ซึ่งจะสามารถช่วยตรวจสุขภาพทางการเงินไม่ว่าจะเป็นสภาพ
คล่องทางการเงิน การชำระหนี้ ค่าใช้จ่าย และทุนสำรอง ซึ่งระบบเตือนภัยดังกล่าวมีความ
สำคัญต่อการบริหารงานของภาคสหกรณ์ |